การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • ต้นฉบับบทความทุกประเภทที่ส่งมายังวารสารฯ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่วารสารใดหรือรายงานสืบเนื่อง (proceeding) ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
  • บทความพิมพ์ในรูปแบบไฟล์ Microsoft Word ใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-space) และพิมพ์เป็นคอลัมน์เดียว ใช้ font “TH Sarabun New” ขนาดตัวอักษร 16 pt ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้ (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และแสดง รูปภาพ ตาราง โดยวางในตำแหน่งที่เหมาะสมในบทความ ไม่นำมารวมไว้ท้ายบทความ
  • ชื่อและนามสกุล คุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้นิพนธ์ทุกคนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งระบุชื่อผู้นิพนธ์หลัก (corresponding author)
  • ชื่อเรื่อง มีชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร และไม่ใส่ชื่อสถานที่ทำการวิจัย เช่น ชื่อโรงพยาบาล/จังหวัด ไว้ในชื่อเรื่อง
  • บทคัดย่อ และ abstract ไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ และ keywords ไม่เกิน 5 คำ
  • รูปภาพ ตาราง ไดอะแกรม ได้เขียนขึ้นเอง หากไม่ได้เขียนขึ้นเอง ให้อ้างอิงแหล่งที่มาพร้อมหนังสืออนุญาตให้ใช้
  • เอกสารอ้างอิง เขียนตามแบบ Vancouver และเรียงลำดับด้วยเลขตามที่อ้างอิงในเนื้อเรื่อง โดยในเนื้อเรื่องให้อ้างอิงด้วยตัวเลขอารบิกที่เป็นตัวยกขึ้น (superscript) ไม่มีวงเล็บ
  • บทความจัดเตรียมตามข้อกำหนดทั้งในด้าน รูปแบบ และ การอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)
  • กรอกหมายเลขโทรศัพท์ของผู้แต่ง (corresponding author) และเลขสมาชิกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) (ถ้ามี) ในช่อง "ข้อความถึงบรรณาธิการ"

คำแนะนำผู้แต่ง

การส่งบทความ (Submission)

ก่อนส่งบทความ ขอให้ผู้เขียนอ่านหัวข้อ “เกี่ยวกับวารสาร (about the journal)” แล้วดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. พิจารณาและระบุประเภทของบทความที่ต้องการส่ง ทั้งนี้วารสารฯ รับตีพิมพ์บทความ 7 ประเภท ได้แก่
         บทความนิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article)
         บทความรายงานผู้ป่วย (Case Report)
         บทความความปลอดภัยทางยา (Medication Safety)
         บทความพิษวิทยา (Toxicology)
         บทความข้อมูลยา (Drug Monograph)
         บทความปริทัศน์ (Review Article)
         บทความการศึกษาต่อเนื่อง (Continuing Pharmaceutical Education; CPE)
  1. จัดเตรียมต้นฉบับบทความตามรูปแบบที่วารสารฯ กำหนด โดยจำนวนเอกสารอ้างอิงไม่ควรเกิน 20 รายการ หากมีรูป ไดอะแกรม หรือ ตาราง ผู้เขียนจะต้องทำขึ้นเองหรือขออนุญาตเจ้าของรูป ไดอะแกรม หรือ ตาราง เหล่านั้น และส่งหลักฐานการอนุญาตพร้อมบทความ
  2. ส่งบทความมายังวารสารฯ ทางระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/about/submissions โดยดำเนินการดังนี้
  • ผู้เริ่มใช้งานครั้งแรกต้องลงทะเบียนเข้าเว็บไซต์วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลก่อนจึงจะส่งบทความได้ ทั้งนี้ศึกษารายละเอียดได้จาก “คู่มือ-คำแนะนำ” | “Manual and Guideline” อยู่บริเวณด้านขวามือของหน้าเว็บไซต์วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล
    กระบวนการ submission บนเว็บไซต์มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน
  • บันทึกชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ และเลขสมาชิกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย) ของผู้นิพนธ์หลัก (corresponding author) ลงในช่อง “Comments for the Editor” (ข้อความถึงบรรณาธิการ) ในขั้นตอนที่ 1.(Start)
  • ส่งไฟล์ให้ครบถ้วนในขั้นตอนที่ 2. (Upload Submission) ซึ่งมีประเภทไฟล์ (Article Components) ดังนี้
    Article Text     = ไฟล์บทความต้นฉบับที่เป็นรูปแบบ Microsoft Word และ PDF
    Other            = ไฟล์สำเนาหนังสือรับรองการได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย (Ethic Committee) ใช้เฉพาะบทความ นิพนธ์ต้นฉบับ (original article)
    ในบางกรณี อาจมีการร้องขอไฟล์ของบทความเอกสารอ้างอิงทุกฉบับ (Full paper หรือ Abstract) หรือ URL ที่ใช้อ้างอิงในบทความ
  1. เมื่อบทความได้รับการกลั่นกรองและประเมินจากคณะกรรมการพิจารณาบทความแล้ว หากผลการประเมินคือการรับตีพิมพ์แต่ต้องแก้ไขตามคำแนะนำ ผู้เขียนต้องดำเนินการแก้และส่งกลับมายังบรรณาธิการวารสารฯ ภายในเวลาที่วารสารได้แจ้งไป

การเตรียมต้นฉบับ

  1. พิมพ์ด้วย Microsoft Word ใช้ font “TH Sarabun New” ขนาด 16 และพิมพ์เป็นคอลัมน์เดียว (download font “TH Sarabun New” ได้จาก https://www.f0nt.com/release/th-sarabun-new/)
  2. ต้นฉบับบทความทุกประเภทที่ส่งมายังวารสารฯ เพื่อพิจารณาตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่วารสารใดหรือรายงานสืบเนื่อง (proceeding) ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น จัดพิมพ์ในรูปแบบตามที่กำหนด หากไม่ถูกต้องต้นฉบับจะถูกส่งคืนผู้นิพนธ์หลักเพื่อแก้ไข หลังจากแก้ไขแล้วบทความนั้นจึงจะเข้าสู่กระบวนการกลั่นกรองและประเมินคุณภาพ (peer review) โดยผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ
  3. ชื่อผู้นิพนธ์ ให้ใส่ชื่อและนามสกุล คุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้นิพนธ์ทุกคนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งระบุชื่อผู้นิพนธ์หลัก (corresponding author) หมายเลขโทรศัพท์ และเลขสมาชิกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ของผู้นิพนธ์หลัก
    (สมัครสมาชิกได้ที่ https://thaihp.org/extend.php?option=seminar_memberform&seminar=126)
  1. ชื่อเรื่อง ต้องมีชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร และไม่ใส่ชื่อสถานที่ทำการวิจัย เช่น ชื่อโรงพยาบาล/จังหวัด ไว้ในชื่อเรื่อง
  2. ทุกประเภทบทความ ต้องมีบทคัดย่อ และ abstract ไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ และ keywords ไม่เกิน 5 คำ
  3. ภาษาที่ใช้ในบทความ เป็นได้ทั้งภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
  4. กรณีนิพนธ์ต้นฉบับ ต้องระบุในต้นฉบับด้วยว่าได้ผ่านการพิจารณาและได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัย (Ethic Committee) ในคนหรือในสัตว์ทดลองให้ดำเนินการวิจัยได้ พร้อมแนบสำเนาหนังสือรับรองที่ได้รับอนุญาตนั้น (scan ได้)
  5. บทความทุกประเภทรวมทั้งนิพนธ์ต้นฉบับที่ได้รับทุนสนับสนุน ให้ระบุแหล่งเงินทุนไว้ด้วย และผู้นิพนธ์ต้องเปิดเผยว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่
  6. คำย่อและคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในบทความ ให้ใช้คำย่อที่เป็นสากล และต้องใส่คำเต็มไว้ครั้งแรกก่อน ส่วนคำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ให้ใช้ตามที่บัญญัติโดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ชื่อวิทยาศาสตร์ของเชื้อจุลินทรีย์และพืช ให้ใช้ตัวเอน
  7. รูปภาพ ตาราง ไดอะแกรม ให้เขียนขึ้นเอง หากไม่ได้เขียนขึ้นเอง ให้อ้างอิงแหล่งที่มาและทำหนังสือขออนุญาตเจ้าของรูปภาพ ตาราง ไดอะแกรมนั้น และแนบสำเนาหนังสืออนุญาตนั้นมาพร้อมบทความ (scan ได้)
  8. เอกสารอ้างอิงไม่ควรมีจำนวนเกิน 20 รายการ เขียนตามแบบ Vancouver Style โดยในเนื้อเรื่องให้อ้างอิงด้วยตัวเลขอารบิกที่เป็นตัวยกขึ้น (superscript) ไม่มีวงเล็บ เรียงเป็นลำดับเลขที่จากบทนำเรื่อยไปจนจบบทความ เช่น xxxxx1  กรณีอ้างอิงเอกสารหลายรายการในเนื้อหาเดียวกันและรายการอ้างอิงต่อเนื่องกันให้ใช้ hyphen (-) ระหว่างตัวเลข เช่น 1-3 แต่หากรายการอ้างอิงไม่ต่อเนื่องให้ใช้ comma (,) ระหว่างตัวเลข เช่น 1-3,5 รายละเอียดการเขียนเอกสารอ้างอิงแบบ Vancouver Style สามารถดูรายละเอียดได้ที่: การเขียนเอกสารอ้างอิง

นิพนธ์ต้นฉบับ


นิพนธ์ต้นฉบับ (O
riginal Article)

เป็นบทความผลงานวิจัย หรือ นวัตกรรม ที่ดำเนินการอย่างมีแบบแผน และได้รับการรับรองจริยธรรมการวิจัยแล้ว ความยาวทั้งบทความประมาณ 12 หน้ากระดาษ A4 หรือไม่เกิน 4,000 คำ

รูปแบบของบทความประกอบด้วย:-

  • ชื่อเรื่อง: ความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้นิพนธ์: ใส่ชื่อและนามสกุล คุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้นิพนธ์ทุกคน พร้อมทั้งระบุชื่อผู้นิพนธ์หลัก (corresponding author) เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • บทคัดย่อ: ความยาวไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ (keywords) ไม่เกิน 5 คำ เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ ในบทคัดย่อแสดงหัวข้อย่อย ได้แก่
    • ความเป็นมา (Background)
    • วัตถุประสงค์ (Objectives)
    • วิธีวิจัย (Method)
    • ผลการวิจัย (Results)
    • สรุปผล (Conclusion)
  • เนื้อเรื่อง: เขียนเป็นภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยหัวข้อย่อย ได้แก่
    • บทนำ (Introduction)
    • วัตถุประสงค์ (Objectives)
    • วัสดุและวิธีการศึกษา/วิจัย (Materials and Methods) พร้อมทั้งระบุว่าได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัย (Ethic Committee) ในคนหรือสัตว์ทดลองแล้ว ระบุเลขที่ใบอนุญาต และแนบสำเนาหนังสือที่ได้รับอนุญาตนั้นมาพร้อมกับต้นฉบับ (scan ได้)
    • ผลการศึกษา/วิจัย (Results)
    • วิจารณ์ผล/อภิปรายผล (Discussion)
    • สรุปผลการวิจัย (Conclusion)
    • ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) (Suggestion)
  • กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement): เขียนเป็นภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ หากได้รับทุนสนับสนุนให้เปิดเผยชื่อทุน พร้อมทั้งเปิดเผยว่าผู้นิพนธ์มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่
  • เอกสารอ้างอิง (References): เขียนตามแบบ Vancouver โดยในเนื้อเรื่องให้อ้างอิงด้วยตัวเลขอารบิกที่เป็นตัวยกขึ้น (superscript) เรียงเป็นลำดับเลขที่จากบทนำเรื่อยไปจนจบบทความ

รายงานผู้ป่วย


บทความรายงานผู้ป่วย (C
ase Report)

เป็นบทความที่เขียนในรูปแบบรายงานผู้ป่วยที่เภสัชกรพบการเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับยา เช่น แพ้ยา (drug allergy) อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (adverse drug reaction) อาการไม่พึงประสงค์จากปฏิกิริยาระหว่างยา (adverse drug interaction) เป็นต้น ความยาวทั้งบทความประมาณ 4 หน้ากระดาษ A4

รูปแบบของบทความประกอบด้วย:-

  • ชื่อเรื่อง: ความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้นิพนธ์: ใส่ชื่อและนามสกุล คุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้นิพนธ์ทุกคน พร้อมทั้งระบุชื่อผู้นิพนธ์หลัก (corresponding author) เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • บทคัดย่อ: ความยาวไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ (keywords) ไม่เกิน 5 คำ เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • วัตถุประสงค์: แสดงวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ผู้อ่านจะได้รับหลังจากการอ่านบทความ เขียนเป็นภาษาไทย
  • บทนำ: ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 แสดงเนื้อหาอย่างย่อของยา ประกอบด้วย เภสัชวิทยาของยา กลไกการออกฤทธิ์ การใช้ยา และอาการข้างเคียง เขียนเป็นภาษาไทย
  • เนื้อเรื่อง: เขียนเป็นภาษาไทย แสดงข้อมูลที่เป็นสาเหตุนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล ประกอบด้วย
    • ประวัติทั่วไปของผู้ป่วย ประวัติความเจ็บป่วย และประวัติการใช้ยา
    • อาการสำคัญ
    • ผลการตรวจร่างกาย
    • ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
    • ยาที่ได้รับก่อนเข้าโรงพยาบาล
    • การรักษาที่ได้รับในโรงพยาบาล
  • อภิปราย: เขียนเป็นภาษาไทย แสดงการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดกับผู้ป่วยและนำผู้ป่วยมาโรงพยาบาล สาเหตุหรือกลไกการเกิดปัญหานั้น การคัดเลือกการรักษา และสรุปผลที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยผู้เขียน พร้อมเหตุผลประกอบ
  • บทสรุป: เขียนเป็นภาษาไทย โดยเขียนสรุปและให้ข้อเสนอแนะเพื่อผู้อ่านนำไปใช้ประโยชน์
  • เอกสารอ้างอิง: เขียนตามแบบ Vancouver โดยในเนื้อเรื่องให้อ้างอิงด้วยตัวเลขอารบิกที่เป็นตัวยกขึ้น (superscript) เรียงเป็นลำดับเลขที่จากบทนำเรื่อยไปจนจบบทความ

ความปลอดภัยทางยา


บทความความปลอดภัยทางยา (M
edication Safety)

เป็นบทความปริทัศน์ (review article) ร่วมกับรายงานผู้ป่วย (case report) เกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยที่เกิดจากการใช้ยา โดยมีการทบทวนความรู้ทางเภสัชวิทยา กลไกการออกฤทธิ์ การใช้ยา อาการข้างเคียง และการแก้ไข/ป้องกันเหตุการณ์ที่เกิดความไม่ปลอดภัย โดยมีรายงานผู้ป่วยที่เกิดเหตุการณ์ความไม่ปลอดภัยนั้น เพื่อให้ความรู้และประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย อันจะนำไปสู่ความปลอดภัยทางยา (medication safety) ความยาวทั้งบทความประมาณ 8 หน้ากระดาษ A4 เขียนเป็นภาษาไทย (ยกเว้นชื่อยาและศัพท์เทคนิค ใช้ภาษาอังกฤษได้)

รูปแบบของบทความประกอบด้วย:-

  • ชื่อเรื่อง: ความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้นิพนธ์: ใส่ชื่อและนามสกุล คุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้นิพนธ์ทุกคน พร้อมทั้งระบุชื่อผู้นิพนธ์หลัก (corresponding author) เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • บทคัดย่อ: ความยาวไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ (keywords) ไม่เกิน 5 คำ เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • วัตถุประสงค์: แสดงวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ผู้อ่านจะได้รับหลังจากการอ่านบทความ เขียนเป็นภาษาไทย
  • บทนำ: เขียนเป็นภาษาไทย ความยาวไม่เกิน 3 หน้ากระดาษ A4 แสดงเนื้อหาอย่างย่อของยา ประกอบด้วย เภสัชวิทยาของยา กลไกการออกฤทธิ์ การใช้ยา และอาการข้างเคียง
  • เนื้อเรื่อง: เขียนเป็นภาษาไทย ประกอบด้วย
    • ประวัติทั่วไปของผู้ป่วย ประวัติความเจ็บป่วย และประวัติการใช้ยา
    • อาการ/เหตุการณ์ที่แสดงถึงความไม่ปลอดภัยที่เกิดจากการใช้ยานั้น
    • ผลการตรวจร่างกาย
    • ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
    • ยาที่ได้รับก่อนเข้าโรงพยาบาล
    • การรักษา/การจัดการแก้ไข ที่ได้รับในโรงพยาบาล
  • อภิปราย: เขียนเป็นภาษาไทย แสดงการวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดกับผู้ป่วย สาเหตุหรือกลไกการเกิดเหตุการณ์นั้น การคัดเลือกการรักษา/การจัดการแก้ไข และสรุปผลที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยผู้เขียน พร้อมเหตุผลประกอบ
  • บทสรุป: เขียนเป็นภาษาไทย โดยเขียนสรุปและให้ข้อเสนอแนะเพื่อผู้อ่านนำไปใช้ประโยชน์
  • เอกสารอ้างอิง: เขียนตามแบบ Vancouver โดยในเนื้อเรื่องให้อ้างอิงด้วยตัวเลขอารบิกที่เป็นตัวยกขึ้น (superscript) เรียงเป็นลำดับเลขที่จากบทนำเรื่อยไปจนจบบทความ

พิษวิทยา


บทความพิษวิทยา (Toxicology)

เป็นบทความปริทัศน์ (review article) ร่วมกับรายงานผู้ป่วย (case report) โดยมีการทบทวนความรู้ด้านพิษวิทยา กลไกการออกฤทธิ์ และอาการพิษ ของยา สารพิษ พืชพิษ หรือสัตว์พิษ ตลอดจนการแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดความเป็นพิษนั้น ร่วมกับมีรายงานผู้ป่วยที่เกิดอาการพิษนั้นและการแก้ไข เพื่อให้ความรู้และประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย ความยาวทั้งบทความประมาณ 8 หน้ากระดาษ A4 เขียนเป็นภาษาไทย (ยกเว้นชื่อยา สารพิษ พืชพิษ สัตว์พิษ และศัพท์เทคนิค ใช้ภาษาอังกฤษได้)

รูปแบบของบทความประกอบด้วย:-

  • ชื่อเรื่อง: ความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้นิพนธ์: ใส่ชื่อและนามสกุล คุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้นิพนธ์ทุกคน พร้อมทั้งระบุชื่อผู้นิพนธ์หลัก (corresponding author) เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • บทคัดย่อ: ความยาวไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ (keywords) ไม่เกิน 5 คำ เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • วัตถุประสงค์: แสดงวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ผู้อ่านจะได้รับหลังจากการอ่านบทความ เขียนเป็นภาษาไทย
  • บทนำ: เขียนเป็นภาษาไทย ความยาวไม่เกิน 3 หน้ากระดาษ A4 แสดงเนื้อหาอย่างย่อทางพิษวิทยาของ ยา สารพิษ สัตว์พิษ หรือพืชพิษ อาการพิษ และกลไกการเกิดพิษ
  • เนื้อเรื่อง: เขียนเป็นภาษาไทย ประกอบด้วย
    • ประวัติทั่วไปของผู้ป่วย ประวัติความเจ็บป่วย และประวัติการได้รับยา สารพิษ พืชพิษ หรือสัตว์พิษ
    • อาการที่แสดงถึงความเป็นพิษ
    • ผลการตรวจร่างกาย
    • ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
    • การรักษา และการแก้พิษ/การจัดการแก้ไข ที่ได้รับในโรงพยาบาล
  • อภิปราย: เขียนเป็นภาษาไทย แสดงการวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดกับผู้ป่วยนั้น การคัดเลือกการรักษา และการแก้พิษ/การจัดการแก้ไข และสรุปผลที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยผู้เขียน พร้อมเหตุผลประกอบ
  • บทสรุป: เขียนเป็นภาษาไทย โดยเขียนสรุปและให้ข้อเสนอแนะเพื่อผู้อ่านนำไปใช้ประโยชน์
  • เอกสารอ้างอิง: เขียนตามแบบ Vancouver โดยในเนื้อเรื่องให้อ้างอิงด้วยตัวเลขอารบิกที่เป็นตัวยกขึ้น (superscript) เรียงเป็นลำดับเลขที่จากบทนำเรื่อยไปจนจบบทความ

ข้อมูลยา


บทความข้อมูลยา (Drug Monograph)

เป็นบทความปริทัศน์ (review article) ที่เรียบเรียงจากการรวบรวมความรู้ทางวิชาการหรืองานวิจัย ของยาที่มีการจำหน่ายในประเทศไทย แล้วนำมาอธิบาย หรือเปรียบเทียบคุณสมบัติของยา โดยผ่านการวิเคราะห์ และ สังเคราะห์ ของผู้เขียน ความยาวทั้งบทความประมาณ 8 หน้ากระดาษ A4 เขียนเป็นภาษาไทย (ยกเว้นชื่อโรค ชื่อยา ชื่อรายงานการศึกษาทางคลินิก (clinical trial) และศัพท์เทคนิค ใช้ภาษาอังกฤษได้)

รูปแบบของบทความประกอบด้วย:-

  • ชื่อเรื่อง: ความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้นิพนธ์: ใส่ชื่อและนามสกุล คุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้นิพนธ์ทุกคน พร้อมทั้งระบุชื่อผู้นิพนธ์หลัก (corresponding author) เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • บทคัดย่อ: ความยาวไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ (keywords) ไม่เกิน 5 คำ เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • วัตถุประสงค์: แสดงวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ผู้อ่านจะได้รับหลังจากการอ่านบทความ เขียนเป็นภาษาไทย
  • บทนำ: เขียนเป็นภาษาไทยความยาวไม่เกิน 3 หน้ากระดาษ A4 แสดงข้อมูลอย่างย่อเกี่ยวกับโรคที่มีการรักษาด้วยยาที่ต้องการเขียน สาเหตุของโรค อาการของโรค การรักษา กลุ่มยาที่ใช้ ข้อจำกัดของยาที่มีอยู่ แนวคิดในการพัฒนายาที่ต้องการเขียน
  • เนื้อเรื่อง: เขียนเป็นภาษาไทย ความยาว 3-5 หน้ากระดาษ A4 แสดงข้อมูลยาในเชิงเปรียบเทียบกับยาที่มีอยู่เดิม (อาจเป็นยาอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกัน/ต่างกลุ่ม) ประกอบด้วย
    • ข้อมูลทั่วไป (ชื่อสามัญ ชื่อทางเคมี สูตรโมเลกุล รูปแบบยา)
    • เภสัชพลศาสตร์ (กลไกการออกฤทธิ์ และ ผลต่อระบบของร่างกาย)
    • เภสัชจลนศาสตร์ (การดูดซึมยา การกระจายยา การเปลี่ยนสภาพยา การกำจัดยา)
    • ปฏิกิริยาระหว่างยา
    • การศึกษาทางคลินิก
    • ข้อบ่งใช้
    • คำแนะนำการใช้ยาตามแนวทางการรักษา
    • ขนาดยาและวิธีการให้ยา (ขนาดยาในเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้ที่มีภาวะตับ/ไตบกพร่อง)
    • อาการไม่พึงประสงค์และความเป็นพิษ
    • ข้อห้ามใช้ (ข้อห้ามใช้ในเด็ก สตรีตั้งครรภ์และมารดาที่ให้นมบุตร)
    • อื่นๆ เช่น การเก็บรักษายา การละลายยา ความคงตัวหลังการเปิดใช้หรือหลังการละลายยา
  • อภิปราย: เขียนเป็นภาษาไทย แสดงการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างยา และสรุปผลพร้อมเหตุผลประกอบที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยผู้เขียน
  • บทสรุป: เขียนเป็นภาษาไทย โดยเขียนสรุปและให้ข้อเสนอแนะเพื่อผู้อ่านนำไปใช้ประโยชน์
  • เอกสารอ้างอิง: เขียนตามแบบ Vancouver โดยในเนื้อเรื่องให้อ้างอิงด้วยตัวเลขอารบิกที่เป็นตัวยกขึ้น (superscript) เรียงเป็นลำดับเลขที่จากบทนำเรื่อยไปจนจบบทความ

บทความปริทัศน์


บทความปริทัศน์ (Review Article)

เป็นบทความที่เรียบเรียงขึ้นใหม่จากการรวบรวมความรู้ทางวิชาการหรืองานวิจัยของตนเองหรือของผู้อื่น แล้วนำมาอธิบาย โดยผ่านการวิเคราะห์ และ สังเคราะห์ ความยาวทั้งบทความประมาณ 8 หน้ากระดาษ A4 เขียนเป็นภาษาไทย

รูปแบบของบทความประกอบด้วย:-

  • ชื่อเรื่อง: ความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้นิพนธ์: ใส่ชื่อและนามสกุล คุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้นิพนธ์ทุกคน พร้อมทั้งระบุชื่อผู้นิพนธ์หลัก (corresponding author) เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • บทคัดย่อ: ความยาวไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ (keywords) ไม่เกิน 5 คำ เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • วัตถุประสงค์: แสดงวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ผู้อ่านจะได้รับหลังจากการอ่านบทความ เขียนเป็นภาษาไทย
  • เนื้อเรื่อง: เขียนเป็นภาษาไทย ประกอบด้วย บทนำ เนื้อหา อภิปรายและข้อเสนอแนะที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์โดยผู้เขียน
  • บทสรุป: เขียนเป็นภาษาไทย โดยเขียนสรุปและให้ข้อเสนอแนะเพื่อผู้อ่านนำไปใช้ประโยชน์
  • เอกสารอ้างอิง: เขียนตามแบบ Vancouver โดยในเนื้อเรื่องให้อ้างอิงด้วยตัวเลขอารบิกที่เป็นตัวยกขึ้น (superscript) เรียงเป็นลำดับเลขที่จากบทนำเรื่อยไปจนจบบทความ

การศึกษาต่อเนื่อง


บทความการศึกษาต่อเนื่อง (C
ontinuing Pharmaceutical Education; CPE)

เป็นบทความที่ให้ความรู้เรื่องยาแก่เภสัชกร เพื่อให้เภสัชกรได้ทบทวนความรู้และ/หรือได้ความรู้ใหม่

รูปแบบของบทความประกอบด้วย:-

  • ชื่อเรื่อง: ความยาวไม่เกิน 150 ตัวอักษร เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้นิพนธ์: ใส่ชื่อและนามสกุล คุณวุฒิ (ปริญญาตรี และสูงกว่า) สังกัด และ e-mail ของผู้นิพนธ์ทุกคน พร้อมทั้งระบุชื่อผู้นิพนธ์หลัก (corresponding author) เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • บทคัดย่อ: ความยาวไม่เกิน 300 คำ พร้อมคำสำคัญ (keywords) ไม่เกิน 5 คำ เขียนเป็นภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • วัตถุประสงค์: แสดงวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ผู้อ่านจะได้รับหลังจากการอ่านบทความ เขียนเป็นภาษาไทย
  • เนื้อเรื่อง: เขียนเป็นภาษาไทย ประกอบด้วย
    • บทนำ
    • เนื้อหา
    • บทสรุป
  • เอกสารอ้างอิง: เขียนตามแบบ Vancouver โดยในเนื้อเรื่องให้อ้างอิงด้วยตัวเลขอารบิกที่เป็นตัวยกขึ้น (superscript) เรียงเป็นลำดับเลขที่จากบทนำเรื่อยไปจนจบบทความ
  • แบบทดสอบ: เขียนเป็นภาษาไทย เป็นแบบทดสอบแบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 15 ข้อ ให้ผู้อ่านทำเพื่อเก็บคะแนนหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารนี้เท่านั้นและจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่นๆ หรือหน่วยงานอื่น