สารสกัดใบแปะก๊วยในการรักษาโรคด่างขาวบนหลักฐานเชิงประจักษ์ และแนวทางการนำไปใช้ทางคลินิก
คำสำคัญ:
Ginkgo biloba, สารสกัดใบแปะก๊วย, vitiligo, โรคด่างขาวบทคัดย่อ
โรคด่างขาวเป็นโรคที่มีความผิดปกติของการสร้างเม็ดสีผิว ทำให้เกิดการสูญเสียการสร้างเม็ดสีในบริเวณผิวหนัง ซึ่งเป็นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน พันธุกรรม เซลล์สร้างเม็ดสี (melanocytes) รวมถึงความเครียดของเซลล์ที่เกิดจากการออกซิเดชั่น (oxidative stress) เนื่องจากยาพื้นฐานที่ใช้ในการรักษาโรคด่างขาวอาจพบอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง ดังนั้น จึงมีแนวคิดในการนำสารสกัดใบแปะก๊วย (Ginkgo biloba leaf extract) มาเป็นทางเลือกในการรักษา เนื่องจากพบว่ามีสารสำคัญซึ่งอาจมีความสัมพันธ์กับการลดการกระจายตัวของโรคได้ เช่น สารกลุ่ม flavonoids และ terpene trilactones โดยกลไกการออกฤทธิ์ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่อาจเกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้านการอักเสบ (anti-inflammatory), ฤทธิ์ปรับภูมิคุ้มกัน (immunomodulatory) และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) มีรายงานถึงประสิทธิภาพของสารสกัดใบแปะก๊วยในการเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างเม็ดสีเพิ่มขึ้น (repigmentations) บริเวณรอยโรค อาการไม่พึงประสงค์ของการใช้สารสกัดใบแปะก๊วยที่อาจพบได้ คือรบกวนระบบทางเดินอาหาร (gastrointestinal upset), ความผิดปกติของการย่อยอาหาร ปวดศีรษะ และอาการทางผิวหนัง (contact dermatitis) อย่างไรก็ตาม งานวิจัยที่ศึกษาความปลอดภัยในการใช้สารสกัดใบแปะก๊วยและการใช้ในระยะยาวเพื่อรักษาโรคด่างขาวอย่างเฉพาะเจาะจงยังมีไม่มากนัก ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในอนาคตต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ