การศึกษาการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจส่วนบนและอวัยวะใกล้เคียง ณ โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
การใช้ยาปฏิชีวนะ, โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจส่วนบนบทคัดย่อ
ความเป็นมา: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้มีโครงการส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการใช้ยาปฏิชีวนะใน 3 โรคที่พบบ่อย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาการใช้ยาปฏิชีวนะและผลการรักษาในผู้ป่วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจส่วนบนและอวัยวะใกล้เคียง ณ แผนกตรวจโรคทั่วไปและแผนกประกันสังคม ที่ได้และไม่ได้รับการรักษาตามแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล
วิธีวิจัย: ทำการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางในผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่แผนกตรวจโรคทั่วไปและแผนกประกันสังคม โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี ด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจส่วนบนและอวัยวะใกล้เคียง ในช่วงเดือนตุลาคม 2558 ถึงเดือนมกราคม 2559 เก็บข้อมูลยาปฏิชีวนะที่ผู้ป่วยได้รับ เปรียบเทียบกับ แนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ติดตามผลหลังการรักษา 7 วัน วิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและไคสแควร์
ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษามีจำนวน 381 ราย ร้อยละ 73.4 และ 78.3 ของผู้ป่วยในแผนกตรวจโรคทั่วไปและแผนกประกันสังคมตามลำดับ ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ มีอัตราการใช้ยาที่เป็นและไม่เป็นตามแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล อยู่ที่ร้อยละ 41.5 และ 38.3 ตามลำดับ หลังการรักษา 7 วันพบว่า ร้อยละ 94.3 และ 97.2 ของผู้ป่วยที่ได้รับและไม่ได้รับการรักษาตามแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลหายเป็นปกติหรือมีอาการดีขึ้น โดยไม่มีความแตกต่างกันระหว่างกลุ่ม (P=0.2030)
สรุปผล: อัตราการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจส่วนบนและอวัยวะใกล้เคียงที่เป็นและไม่เป็นไปตามแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล อยู่ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันและมีค่าสูง จึงควรมีมาตรการดำเนินการที่เคร่งครัดเพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ