Chloroquine- and hydroxychloroquine-induced retinopathy: Review and case report
คำสำคัญ:
chloroquine, hydroxychloroquine, retinopathy, maculopathyบทคัดย่อ
Chloroquine และ hydroxychloroquine เป็นยาที่ใช้อย่างแพร่หลายในโรคมาลาเรียและโรคทางระบบภูมิคุ้มกัน ในระยะหลังพบอุบัติการณ์ของอาการไม่พึงประสงค์ในระบบต่างๆ เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งความผิดปกติเกี่ยวกับตา ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่มีความสำคัญทางคลินิก โดยเฉพาะโรคจอประสาทตาผิดปกติ (retinopathy) และ โรคจุดภาพชัดเสื่อม (maculopathy) หากมีการดำเนินโรคไปสู่ระยะที่รุนแรง เรียกว่า bull’s eye maculopathy ผู้ป่วยจะสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรโดยที่ไม่สามารถฟื้นคืนเป็นปกติได้ ดังนั้นในผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับยา chloroquine หรือ hydroxychloroquine จึงควรได้รับการตรวจคัดกรองทางจักษุเพื่อเฝ้าระวังพิษต่อตาและประเมินปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ใช้ยาเป็นเวลานานกว่า 5 ปี ใช้ขนาดยาที่สูง ไตบกพร่อง ได้ยา tamoxifen ร่วม และมีโรคจุดภาพชัดเสื่อมอยู่เดิม ซึ่งมีความสำคัญต่อการป้องกันหรือบรรเทาความรุนแรงของอาการไม่ให้เข้าสู่ความผิดปกติในการมองเห็นอย่างถาวร
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ