กรณีศึกษาภาวะพิษจากสารหนู

ผู้แต่ง

  • พรชนก มนแก้ว ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

สารหนู, dimercaprol, keratosis, Mee’s line, succimer

บทคัดย่อ

สารหนู (arsenic, As หรือ อาร์เซนิก) เป็นธาตุชนิดหนึ่งที่พบการเกิดพิษได้แพร่หลายในโลก โดยพบว่า สารหนูชนิดอนินทรีย์เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดพิษมากที่สุด การกินและการสูดดมเป็นทางหลักของการรับสารเข้าสู่ร่างกาย ซึ่งอาจเกิดจากความตั้งใจ อุบัติเหตุ หรือจากการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ในสารเคมี หรือแม้แต่ในยา สมุนไพรพื้นบ้าน เมื่อสารหนูเข้าไปในร่างกายแล้ว จะทำให้การสร้างและการสะสมพลังงานของเซลล์เกิดความเสียหาย นำมาซึ่งความผิดปกติของระบบต่างๆ ในร่างกาย อาการพิษเฉียบพลันมักนำมาด้วยเรื่องคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสียอย่างรุนแรง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทันทีหลังกิน ในขณะที่อาการพิษเรื้อรัง จะมีอาการอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาจใช้เวลานานหลายเดือนถึงหลายปี แล้วจึงแสดงอาการ เช่น ทางระบบผิวหนัง (เช่น Mee’s line, keratosis) ทางระบบประสาทส่วนปลาย หรือระบบอื่นๆ ขึ้น ในการรักษาด้วยการให้สารที่ใช้ในการคีเลชัน เช่น dimercaprol, succimer ช่วยเพิ่มการขับสารหนูออกจากร่างกายได้ อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก นั่นคือการหยุดการสัมผัสสารหนูเพิ่มเติมเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพมากที่สุด

Author Biography

พรชนก มนแก้ว, ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

ภ.บ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-11-2020