Canagliflozin กับการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2
คำสำคัญ:
โรคเบาหวานชนิดที่ 2, canagliflozin, SGLT2 inhibitors, Type 2 diabetesบทคัดย่อ
Canagliflozin เป็นยารักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่ม sodium-glucose co-transporter 2 inhibitors ออกฤทธิ์ยับยั้ง sodium-glucose co-transporter 2 receptor ที่หลอดไตส่วนต้น ทำให้ลดการดูดซึมกลับของกลูโคสที่ผ่านการกรองและลดระดับการกระตุ้นที่น้อยที่สุดที่มีผลต่อการเคลื่อนย้ายของกลูโคสของไต และมีผลเพิ่มการขับถ่ายของกลูโคสทางปัสสาวะ ทำให้ความเข้มข้นของน้ำตาลในพลาสมาที่เพิ่มสูงขึ้นนั้นลดลง โดยไม่มีผลกระตุ้นการหลั่งอินซูลินของตับอ่อน ปริมาณน้ำตาลที่ถูกขับออกทางปัสสาวะจะขึ้นกับระดับน้ำตาลที่สูงเกินในกระแสเลือดและอัตราการกรองของไต จึงมีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิด hypoglycemia เมื่อใช้เป็นยาเดี่ยว แต่มีโอกาสเกิด hypoglycemia สูงขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับยาฉีดอินซูลินหรือยาที่กระตุ้นให้เกิดการหลั่งอินซูลิน จึงควรลดขนาดยาฉีดอินซูลินหรือยาที่กระตุ้นให้เกิดการหลั่งอินซูลิน canagliflozin จะถูกเมแทบอไลซ์ผ่านกระบวนการ O-glucuronidation เป็นหลักและ CYP3A4 บางส่วน จึงเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาที่มีผลต่อ CYP3A4 ได้น้อย ขนาดยาที่แนะนำคือรับประทาน canagliflozin วันละ 1 ครั้ง ก่อนอาหาร อาการไม่พึงประสงค์ที่พบส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับกระเพาะปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์ ได้แก่ การติดเชื้อของท่อทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ อาการปัสสาวะมากและบ่อยผิดปกติ มีรายงานว่า canagliflozin ลดความเสี่ยงในการเกิด MI, stroke และ cardiovascular death ได้ จึงมีข้อบ่งใช้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มี cardiovascular disease
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ