การเตรียมยาโดยใช้ elastomeric pump สำหรับบริหารยาเคมีบำบัดที่บ้าน

ผู้แต่ง

  • ปถมาภรณ์ ตั้งธีระคุณ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่, การบริหารยาเคมีบำบัดที่บ้าน, สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง, อีซี่ปัมพ์

บทคัดย่อ

เพื่อแก้ไขปัญหาความล่าช้าของรอบการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเนื่องจากจำนวนเตียงไม่เพียงพอในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ได้รับยาเคมีบำบัดตามสูตรการรักษา คือ FOLFOX หรือ FOLFIRI หรือสูตรที่ให้ยาเคมีบำบัด fluorouracil (5-FU) ทางหลอดเลือดดำต่อเนื่อง 46 ชั่วโมง โรงพยาบาลรามาธิบดีจึงพัฒนาการบริหารยาเคมีบำบัดทางสายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางที่บ้านรามาโมเดล เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ซึ่งนับถึงสิ้นปี พ.ศ. 2562 มีผู้ป่วย 348 ราย จำนวนครั้งรับยา 3,245 ครั้ง เภสัชกรนำยา 5-FU ที่ผสมกับสารละลาย normal saline solution (NSS) หรือ dextrose 5% in water (D5W) บรรจุใส่ในอุปกรณ์ elastomeric infusion pump (Easypump®, อีซี่ปัมพ์) และพยาบาลนำไปบริหารยาให้แก่ผู้ป่วยที่บ้าน โดยที่ผู้ป่วยต้องใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง และต้องรับยาเคมีบำบัดชนิดอื่น ๆ ในสูตรการรักษาครบที่โรงพยาบาล ก่อนรับยา 5-FU กลับบ้าน จากการทบทวนรายงานการศึกษาความคงตัวทางกายภาพและเคมีของยา 5-FU กับ NSS และ D5W และกับอุปกรณ์อีซี่ปัมพ์ เพื่อกำหนดอายุของยา 5-FU หลังเตรียมผสมและบรรจุยาในอีซี่ปัมพ์ พบว่ายาสามารถเข้ากันได้กับอีซี่ปัมพ์ ไม่มีการปนเปื้อน และอีซี่ปัมพ์มีขนาดและรูปร่างเหมาะสมในการบริหารยาเคมีบำบัดที่บ้าน ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างถูกต้องและปลอดภัยรวมทั้งผู้ป่วยได้รับยาเคมีบำบัดตรงรอบการรักษา

Author Biography

ปถมาภรณ์ ตั้งธีระคุณ, ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ภ.ม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

10-11-2020