ยาบีบหลอดเลือดและยากระตุ้นหัวใจ
คำสำคัญ:
ยาบีบหลอดเลือด, ยากระตุ้นหัวใจบทคัดย่อ
ยาบีบหลอดเลือด (vasopressors) และยากระตุ้นหัวใจ (inotropes) เป็นยาที่ใช้ช่วยชีวิตผู้ป่วยภาวะวิกฤติที่มีระบบไหลเวียนเลือดไม่ปกติ เช่น มีความดันเลือดต่ำในคนไข้ช็อก หรือมีแรงบีบตัวหัวใจน้อยในคนไข้หัวใจล้มเหลว กลไกการออกฤทธิ์ของยาขึ้นกับความสามารถในการจับกับตัวรับ (receptor) ที่หลอดเลือดหรือหัวใจ โดยยากลุ่ม vasopressors เช่น dopamine, norepinephrine, epinephrine, phenylephrine จะจับกับ alpha-1 receptor ส่วนยากลุ่ม vasopressors จะจับกับ V1 receptor ทำให้หลอดเลือดหดตัว เพิ่มความดันเลือด สำหรับยากลุ่ม inotropes เช่น dobutamine สามารถจับกับ beta-1 receptor ทำให้เพิ่มแรงบีบตัวหรืออัตราการเต้นหัวใจ ในส่วนอาการไม่พึงประสงค์จากยากลุ่มนี้พบได้หลากหลาย เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากการเพิ่มการเต้นและแรงบีบหัวใจมากเกินไป ความดันเลือดต่ำจากการขยายตัวของหลอดเลือดส่วนปลาย ภาวะเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ที่ผิวหนัง ช่องท้อง แขนขาลดลง เกิดเนื้อเยื่อตายจากการรั่วไหลของยาออกนอกหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดหดตัวมากเกินไป หรือลดการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ดังนั้น การเลือกใช้ยาแต่ละชนิดและขนาดยาที่ใช้ต้องเลือกให้เหมาะสมกับข้อบ่งใช้ยาและสภาวะของผู้ป่วยแต่ละราย จึงจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากยาสูงสุด
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ