ผลการจัดซื้อยาด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ณ โรงพยาบาลชุมชนแม่ข่ายแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
จัดซื้อยา, วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์, พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560บทคัดย่อ
ความเป็นมา: ด้วยพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 สิงหาคม 2560 เป็นต้นมา กำหนดให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินการในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลางผ่านทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement: e-GP) โรงพยาบาลพิมาย ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย แห่งหนึ่ง มีรายการยาที่ต้องจัดซื้อด้วยวิธี e-bidding จำนวนหนึ่ง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนและมูลค่าที่ประหยัดได้ของยาที่ดำเนินการจัดซื้อยาด้วยวิธี e-bidding
วิธีวิจัย: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการไปข้างหน้า เก็บข้อมูลจากกระบวนการจัดซื้อยาจำนวน 8 รายการที่คัดเข้าการวิจัยด้วยวิธีแบบเจาะจงจากรายการยาที่จัดซื้อด้วยวิธี e-bidding ปีงบประมาณ 2562 ในงานบริหารเวชภัณฑ์ กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ผลการวิจัย: การจัดซื้อยาด้วยวิธี e-bidding ใช้ระยะเวลาดำเนินการ 42–60 วันทำการ คิดเป็นร้อยละ 105-150 ของระยะเวลาที่ประมาณการ พบขั้นตอนที่ไม่เป็นไปตามระยะเวลาประมาณการทั้งหมด 8 ขั้นตอน อย่างไรก็ตาม พบว่า การจัดซื้อยาด้วยวิธี e-bidding สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ รวมเป็นมูลค่า 411,689 บาท
สรุปผล: การจัดซื้อยาด้วยวิธี e-bidding สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้านยาได้ในรายการยาที่มีการแข่งขันราคายา
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ