พิษวิทยาของยา acyclovir
คำสำคัญ:
acyclovir, nephrotoxicity, neurotoxicity, toxicologyบทคัดย่อ
พิษของยา acyclovir มีอาการแสดงได้ตั้งแต่อาการที่ไม่รุนแรง (เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ เป็นต้น) และอาการที่รุนแรง (เช่น พิษต่อระบบประสาท พิษต่อระบบไต เป็นต้น) โดยกลไกการเกิดพิษต่อระบบประสาทนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด ส่วนพิษต่อระบบไตนั้นเกิดจากการตกตะกอนของผลึก acyclovir ในปัสสาวะ ทำให้เกิดการบาดเจ็บของไตตามมา ซึ่งสาเหตุของการเกิดพิษนั้นส่วนใหญ่มาจากขนาดของยาหรือการบริหารยาไม่เหมาะสม เช่น การรับประทานยาเกินขนาด การได้รับยาที่ไม่ได้ปรับขนาดยาตามค่าการทำงานของไต การบริหารยาทางหลอดเลือดดำอย่างรวดเร็ว (intervenous bolus) การได้รับยา acyclovir ร่วมกับยาอื่นๆ ที่อาจเสริมฤทธิ์เพิ่มอาการข้างเคียงจากยา เป็นต้น การวินิจฉัยพิษวิทยาของยา acyclovir ต้องอาศัยประวัติยาที่ได้รับและระยะเวลาที่เกิดอาการ รวมทั้งต้องพิจารณาผลตรวจร่างกาย และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการร่วมด้วย เพื่อวินิจฉัยแยกกับโรคอื่นๆ ที่อาจมีอาการใกล้เคียงกัน วิธีการดูแลรักษาพิษวิทยาจาก acyclovir ที่สำคัญคือการหยุดยาที่เป็นสาเหตุ ในรายที่มีอาการรุนแรง เช่น ไตวายและเกิดพิษต่อระบบประสาท อาจพิจารณาเรื่องการทำ hemodialysis เป็นกรณีไป เพื่อเพิ่มการขจัดยาออกจากร่างกาย วิธีที่จะสามารถป้องกันการเกิดพิษจาก acyclovir ได้ คือ ควรมีการบริหารยาที่เหมาะสม มีการปรับขนาดยาตามค่าการทำงานของไตในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง และมีการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากยาอย่างใกล้ชิด แม้ว่าจะมีการปรับขนาดยาแล้วก็ตาม เนื่องจากยังพบรายงานการเกิดพิษจากยา acyclovir ได้ แม้ผู้ป่วยจะได้รับขนาดยาที่เหมาะสม
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ