Zonisamide: ยารักษาโรคลมชักเฉพาะส่วน
คำสำคัญ:
Zonisamide, ยากันชัก, นิ่วในไตบทคัดย่อ
Zonisamide เป็นยากันชักรุ่นใหม่ (new antiepileptic drugs; AEDs) ที่ใช้รักษาอาการชักได้หลายชนิด โดยสามารถใช้ได้ทั้งแบบยาเดี่ยว (monotherapy) และยาเสริม (add on therapy) ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาในปี พ.ศ. 2551 ให้ใช้ในการรักษาโรคลมชักเฉพาะส่วน อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้บ่อยจากยา zonisamide ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท ได้แก่ ง่วงซึม เวียนศีรษะ และระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ เบื่ออาหาร โดยพบได้มากกว่าร้อยละ 10 นอกจากนี้ยังมีอาการไม่พึงประสงค์ที่เป็นอาการเฉพาะของยา zonisamide ได้แก่ การเกิดนิ่วในไต (renal calculi) พบได้ประมาณร้อยละ 4 ซึ่งอาการดังกล่าวแม้มีอุบัติการณ์การเกิดน้อย แต่หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็วอาจนำไปสู่ภาวะไตถูกทำลายเรื้อรังได้ จึงควรระมัดระวังและสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เช่น อาการปวดแสบขัดขณะถ่ายปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดหลังบริเวณไต เป็นต้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงร่วมด้วย และควรไปพบแพทย์ทันทีเมื่อสงสัยการเกิดอาการไม่พึงประสงค์
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ