Alirocumab: ยาลดไขมันในเลือดกลุ่ม PCSK9 inhibitor
คำสำคัญ:
ยาลดไขมันในเลือด, alirocumab, PCSK9 inhibitor, proprotein convertase subtilisin/kexin type 9 inhibitorบทคัดย่อ
Alirocumab เป็นยาในกลุ่ม PCSK9 (proprotein convertase subtilisin/kexin type 9) inhibitor ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การอาหารและยาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2015 เป็นยาลดไขมันคอเลสเตอรอลกลุ่มใหม่ที่มีกลไกการออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ PCSK9 มีผลทำให้ลดการทำลาย LDL receptor ในเซลล์ตับและเพิ่มการเก็บกลับของ LDL-C เข้ามาในเซลล์ตับเพื่อทำลาย ส่งผลให้ LDL-C ในกระแสเลือดลดลง มีข้อบ่งใช้ในการรักษาผู้ใหญ่ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงชนิดปฐมภูมิเพื่อลด LDL-C โดยอาจใช้เป็นยารักษาเดี่ยวหรือใช้ร่วมกับยาลดไขมันกลุ่มอื่นๆ เช่น statin หรือ ezetimibe นอกจากนี้ยังมีข้อบ่งใช้ใหม่ที่ได้รับการอนุมัติเพิ่มเติมจาก US FDA ในปี ค.ศ. 2019 คือ ใช้ในการลดความเสี่ยงในการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะเจ็บเค้นอกไม่คงที่ที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในผู้ใหญ่ที่มีโรคหัวใจและหลอดเลือด จากการรวบรวมงานวิจัยที่เปรียบเทียบประสิทธิภาพของยา alirocumab เทียบกับ placebo หรือ ezetimibe พบว่า alirocumab มีประสิทธิภาพในการลด LDL-C ได้ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อาการไม่พึงประสงค์จากยาที่พบบ่อย ได้แก่ อาการคันและการเกิดปฏิกิริยาบริเวณตำแหน่งที่ฉีดยา หากเปรียบเทียบด้านความคุ้มค่าจากการวิเคราะห์ต้นทุน-ประสิทธิผลพบว่ายา alirocumab มีความคุ้มค่าน้อยเมื่อเทียบจากราคาของปี ค.ศ. 2018 แต่ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 ได้มีประกาศลดราคายา alirocumab ลงร้อยละ 60 ซึ่งอาจจะทำให้ยามีความคุ้มค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับประสิทธิภาพในการรักษาและเพิ่มโอกาสเข้าถึงยาของผู้ป่วยมากขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ