วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิด 9 สายพันธุ์
คำสำคัญ:
มะเร็งปากมดลูก, วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก, ไวรัสเอชพีวีบทคัดย่อ
มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของหญิงไทย และมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงถึงร้อยละ 50 ซึ่งคิดเป็นผู้เสียชีวิตเฉลี่ย 6 คนต่อวัน ทั้งที่มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ ปัจจุบันตัวเลขผู้เสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกยังมีแนวโน้มที่สูงขึ้น ปัญหาสำคัญเนื่องจากหญิงไทยส่วนใหญ่ยังคงเข้าใจผิด คิดว่าตัวเองไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง อายุยังน้อย ร่างกายแข็งแรง หรือมีคู่นอนเพียงคนเดียว ไม่น่าจะเกิดโรคร้ายนี้ได้ จึงไม่เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งและฉีดวัคซีนป้องกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก 2 ชนิด คือ bivalent และ quadrivalent ซึ่งครอบคลุมเชื้อ human papillomavirus (HPV) ที่ทำให้เกิดโรค 2 และ 4 สายพันธุ์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์อื่นอีกมาก ภายหลัง ปี ค.ศ. 2014 องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้การรับรอง nonavalent HPV vaccine (9vHPV) ซึ่งครอบคลุมไวรัสเอชพีวี 4 สายพันธุ์เช่นเดียวกับวัคซีน quadrivalent และไวรัสเอชพีวี 5 สายพันธุ์เพิ่มเติม วัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์เป็นวัคซีนที่มีข้อบ่งใช้ในเพศหญิงและเพศชายอายุ 9 ถึง 45 ปีในการป้องกันมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากช่องคลอด ช่องคลอดและทวารหนักที่เกิดจากไวรัสเอชพีวี ชนิด 16, 18, 31, 33, 45, 52, และ 58 ภาวะการเปลี่ยนแปลงก่อนเซลล์มะเร็ง(precancerous)หรือภาวะเซลล์ผิดปกติชนิด dysplasia ที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชพีวี ชนิด 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 และหูดบริเวณอวัยวะเพศที่เกิดจากไวรัสเอชพีวีชนิด 6 และ 11 จาก 8 การศึกษาทางคลินิกเพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพ และพบว่าวัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์ มีความปลอดภัยและได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ