แนวคิดการพัฒนายา semaglutide แบบรับประทาน และการนำไปใช้ในทางคลินิก
คำสำคัญ:
ยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือด, เซมัลกลูไทด์รับประทาน, oral semaglutideบทคัดย่อ
ยากลุ่ม glucagon-like peptide-1 receptor agonists (GLP-1 RAs) เป็นยาลดระดับน้ำตาลในเลือดแบบรับประทานกลุ่มใหม่ที่มีหลักฐานทางคลินิกว่า สามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ดีกว่ายาหลอก และมีผลช่วยลดน้ำหนักได้ แต่เนื่องจากยานี้เป็นโมเลกุลของโปรตีน จึงมีจำหน่ายในรูปแบบยาฉีดเข้าใต้ผิวหนังเป็นแบบแรก ซึ่งทำให้มีข้อจำกัดของการนำไปใช้ทางเวชปฏิบัติ จึงมีแนวคิดในการพัฒนายากลุ่ม GLP-1 RAs ให้อยู่ในรูปแบบยารับประทาน ซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกในการบริหารยาของผู้ป่วยมากขึ้น ยา semaglutide เป็นยาชนิดแรกในกลุ่มนี้ที่สามารถพัฒนาเป็นยาเม็ดรับประทานได้ โดยนำโมเลกุลของยามาจับกับหมู่ sodium N-[8-(2-hydroxybenzoyl) amino caprylate (SNAC) อันจะมีผลป้องกันไม่ให้ตัวยา semaglutide ถูกทำลายในทางเดินอาหาร ทั้งนี้ ยา semaglutide ในรูปแบบเม็ดรับประทานแสดงประสิทธิภาพในการลดระดับน้ำตาลในเลือดและน้ำหนักตัวได้ไม่แตกต่างจากชนิดฉีดเข้าใต้ผิวหนัง แต่ก็พบอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบทางเดินอาหารได้บ่อยเช่นกัน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ