การประเมินค่าตอบแทนเภสัชกรของกระทรวงสาธารณสุข
คำสำคัญ:
ค่าตอบแทนเภสัชกร, กระทรวงสาธารณสุขบทคัดย่อ
ความเป็นมา: การขาดแคลนและการกระจายตัวที่ไม่เหมาะสมของบุคลากรทางการแพทย์เป็นปัญหาของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงฯได้แก้ไขปัญหาด้วยการออกระเบียบจ่ายค่าตอบแทนที่มีความหลากหลาย ส่งผลให้มีค่าตอบแทนแตกต่างในแต่ละวิชาชีพ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการประเมินผลของระบบค่าตอบแทนต่อการปฏิบัติงานเภสัชกรของกระทรวงสาธารณสุข
วิธีวิจัย: ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่มกับเภสัชกรที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลประจำจังหวัดและเภสัชกรประจำโรงพยาบาลชุมชน โดยเลือกโรงพยาบาลในกลุ่ม 8 จังหวัดกระจายในแต่ละภาค ได้แก่ ชัยนาท กาฬสินธุ์ ตรัง ปัตตานี บุรีรัมย์ ชลบุรี ลำปาง และตาก ช่วงเวลาระหว่างเดือน มิถุนายน - ตุลาคม ปี พ.ศ. 2558
ให้ความสนใจ 3 ตัวชี้วัด คือ ผลของการจ่ายค่าตอบแทนต่อประสิทธิภาพการทำงาน ความเป็นธรรมของการจ่ายค่าตอบแทนทั้งระหว่างและในวิชาชีพ และความสามารถรักษากำลังคนให้อยู่ในระบบสาธารณสุข
ผลการวิจัย: การศึกษาพบว่าเงินตอบแทนไม่ปฏิบัติเวชฯส่งผลต่อประสิทธิภาพ ในขณะที่เงินประเภทอื่นไม่มีผลต่อประสิทธิภาพ พบความไม่เป็นธรรมระหว่างวิชาชีพในทุกค่าตอบแทน และพบว่าการจ่ายตามภาระงานสะท้อนความเป็นธรรมในวิชาชีพได้ดี แต่ระบบการเก็บข้อมูลภาระงานยังมีความยุ่งยากและก่อให้เกิดภาระงานเพิ่ม
ค่าตอบแทนไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้กำลังคนอยู่ในระบบ ยังมีปัจจัยอื่นเช่นระบบสวัสดิการที่สามารถรักษากำลังคนให้อยู่ในระบบกระทรวงสาธารณสุข
สรุปผล: ระบบค่าตอบแทนกำลังคนด้านเภสัชกรรมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและมีผลบางส่วนต่อความคงอยู่ในระบบสาธารณสุข ในขณะที่พบความไม่เป็นธรรมด้านค่าตอบแทนระหว่างวิชาชีพ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ