กรณีศึกษา metformin-associated lactic acidosis
คำสำคัญ:
เมทฟอร์มิน, ภาวะเลือดเป็นกรดจากกรดแลคติก, อาการไม่พึงประสงค์จากยา, ไตวายเฉียบพลันจากยาบทคัดย่อ
Metformin-associated lactic acidosis (MALA) เป็นภาวะฉุกเฉินทางอายุรศาสตร์ที่พบได้น้อยแต่มีความรุนแรง พยาธิกำเนิดและปัจจัยเสี่ยงเกิดจากการที่ระดับยา metformin สูงเกินระดับปกติ ทำให้เกิดการสะสมของ lactate ร่วมกับมีปัจจัยอื่นที่ทำให้มีการสร้างหรือขจัด lactate ออกได้น้อยลง ป้องกันโดยการหลีกเลี่ยงการใช้ยา metformin ในผู้ป่วยกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเกิด MALA ปรับขนาดยา metformin ตามการทำงานของไต และให้การรักษาแบบประคับประคอง แก้ไขภาวะเลือดเป็นกรดและรักษาปัจจัยร่วมที่สาเหตุของ lactic acidosis
กรณีศึกษาเป็นผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 81 ปี มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 (eGFR = 38 mL/min/1.73 m2 ) โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ได้รับยา metformin 500 mg รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง เพื่อรักษาโรคเบาหวาน ผู้ป่วยไม่มีข้อห้ามใช้ยา metformin และเมื่อพิจารณาขนาดยาที่ผู้ป่วยได้รับ พบว่าไม่เกินขนาดที่แนะนำตามการทำงานของไต อย่างไรก็ตามผู้ป่วยรายนี้มาโรงพยาบาลด้วยอาการเหนื่อยมากขึ้น แพทย์วินิจฉัยเป็น MALA จากผลตรวจร่างกาย ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และประวัติการรักษารวมถึงการได้รับยาทั้งจากในและนอกโรงพยาบาล โดยสาเหตุของ MALA ในผู้ป่วยรายนี้เกิดจากการที่ผู้ป่วยมีภาวะ acute kidney injury (AKI) จากการได้รับยาที่มีพิษต่อไตคือ diclofenac ทำให้ระดับยา metformin เพิ่มสูงขึ้นจนเกิดภาวะ lactic acidosis
จากกรณีศึกษา แสดงให้เห็นว่าการป้องกัน MALA มีความสำคัญ และเภสัชกรมีบทบาทในการป้องกันการเกิด MALA ได้โดยการคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ทบทวนการได้รับยาของผู้ป่วย ให้คำปรึกษาแนะนำ รวมถึงการช่วยสืบค้นสาเหตุและปัจจัยร่วมในการเกิด MALA
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ