ภาวะพิษจากการใช้ยาที่มีฤทธิ์ anticholinergic เพื่อผ่อนคลาย
คำสำคัญ:
ความเป็นพิษ, เพื่อการผ่อนคลาย, แอนติโคลิเนอร์จิกบทคัดย่อ
ยาที่มีฤทธิ์ anticholinergic มีที่ใช้ทางคลินิกหลากหลาย โดยฤทธิ์ anticholinergic ที่เกิดขึ้นอาจเป็นได้ทั้งให้ประโยชน์ในการรักษาโรคและทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา มีการดัดแปลง หรือใช้ยาที่มีฤทธิ์ anticholinergic ในด้านอื่น ๆ เช่น การนำไปใช้ในวัตถุประสงค์เพื่อผ่อนคลาย เพื่อความบันเทิง ทำให้เคลิบเคลิ้ม เคลิ้มฝัน เกิดการหลอนประสาท ในขณะเดียวกันฤทธิ์ที่เป็นด้านลบจะทำให้เกิดหัวใจเต้นเร็ว ม่านตาขยาย ตาไม่สู้แสง ปัสสาวะคั่ง มีไข้ บางรายอาจมีอาการชักเกร็ง ยาที่มีฤทธิ์ anticholinergic เช่น trihexyphenidyl, dimenhydrinate, chlorpromazine และยากลุ่ม sedating-antihistamines ยาเหล่านี้สามารถหาซื้อได้ง่าย ผู้ใช้ยาจึงมีความเสี่ยงที่จะได้รับพิษจากยาเหล่านี้ หรืออาจพบอาการไม่พึงประสงค์จากฤทธิ์ anticholinergic เมื่อเกิดอาการพิษขึ้นการรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ หยุดยาที่เป็นสาเหตุ และค่อย ๆ ให้ยาหมดฤทธิ์ไปเอง แม้ว่าในทางทฤษฎีมีการใช้ยาที่มีฤทธิ์ counteract คือ physostigmine แต่ในทางปฏิบัติไม่นิยมใช้เพราะอาจทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ ชัก และอาจไปกระตุ้น (trigger) ให้ผู้ที่มีโรคหืดอยู่เดิมเกิดอาการกำเริบ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ