พิษวิทยาของยากลุ่ม phenothiazines
คำสำคัญ:
Phenothiazines, พิษวิทยา, antipsychotics, QT prolongบทคัดย่อ
Phenothiazines เป็นยากลุ่ม typical antipsychotics ที่มีการใช้กันแพร่หลายในผู้ป่วยจิตเวช เนื่องจากมีประสิทธิภาพดี ใช้รักษาอาการทางจิตของโรคจิตเภทระยะเฉียบพลัน รวมถึงป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเภท และเนื่องจากยามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาหลากหลาย แต่ขาดความจำเพาะในตำแหน่งที่ต้องการออกฤทธิ์ จึงมีผลทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์หรือพิษได้หลายประการ เช่น extrapyramidal symptom (EPS) ความคิดเฉื่อยช้า ง่วงนอน ความดันโลหิตเปลี่ยนขณะเปลี่ยนท่า หัวใจเต้นเร็ว หรืออาจเกิดอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ เช่น คลื่นไฟฟ้าหัวใจพบ QT prolongation, Torsades de pointes และเกิดอาการทางระบบประสาทส่วนกลางรุนแรงจนหมดสติ (coma) ซึ่งพิษของยาต่อระบบหัวใจและประสาทส่วนกลางมีความสำคัญ ดังนั้นการรับประทานยาเกินขนาดในปริมาณมากจึงอาจทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ การวินิจฉัยผู้ป่วยที่เกิดภาวะพิษจากยาในกลุ่ม phenothiazines อาศัยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นหลัก ในส่วนการดูแลรักษาไม่มียาต้านพิษเฉพาะสำหรับยาในกลุ่มนี้ ควรมีการตรวจติดตามวัดสัญญาณชีพ ระบบประสาทส่วนกลาง ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อเลือกการรักษาที่เหมาะสม และรักษาแบบประคับประคองตามอาการที่เกิดขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ