การใช้ยา chloroquine ในการรักษาโรค COVID-19

ผู้แต่ง

  • กฤษณ์ สรวมชีพ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลตราด จังหวัดตราด
  • ศุภทัต ชุมนุมวัฒน์ ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

chloroquine, SARS-CoV-2, COVID-19

บทคัดย่อ

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 มีการระบาดของ coronavirus สายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ทำให้เกิดโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง จนเป็นสาเหตุให้องค์การอนามัยโลกต้องประกาศภาวะฉุกเฉินทางโรคระบาด ต่อมาองค์การอนามัยโลกได้ตั้งชื่อโรคติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ว่า COVID-19 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เช่นเดียวกัน จากรายงานขององค์การอนามัยโลก ณ วันที่ 6 เมษายน 2563 มีผู้ติดเชื้อสะสมในประเทศไทยจำนวน 2,220 ราย รักษาหายแล้ว 793 ราย และมีผู้เสียชีวิตสะสม 26 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 1.17 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด ตามแนวทางเวชปฏิบัติของกรมการแพทย์ (ฉบับปรับปรุง 8 เมษายน 2563) มีคำแนะนำให้ใช้ยา chloroquine เป็นหนึ่งในสูตรยารักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจาก SARS-CoV-2 ซึ่งปัจจุบันงานวิจัยด้านประสิทธิภาพของยา chloroquine ในการรักษาโรคติดเชื้อ SARS-CoV-2 กำลังอยู่ในช่วงดำเนินงานวิจัย แต่ในด้านความปลอดภัยและข้อมูลจากการใช้ยานั้นถือว่า ยา chloroquine มีข้อมูลอยู่มากพอสมควรจากการที่ยานี้ถูกใช้รักษาโรคมาลาเรียและโรคอื่นมานานกว่า 80 ปีแล้ว เภสัชกรหรือบุคลากรทางสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยจึงควรทราบข้อมูลของยา chloroquine เพื่อจะได้เฝ้าระวังอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยซึ่งจำเป็นต้องได้รับยานี้

Author Biographies

กฤษณ์ สรวมชีพ, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลตราด จังหวัดตราด

ภ.บ.
General Residency in Pharmacotherapy

ศุภทัต ชุมนุมวัฒน์, ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภ.บ., Pharm.D., BCPS.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

24-11-2020

ฉบับ

บท

การศึกษาต่อเนื่อง