ความเข้ากันได้ของแคลเซียมกลูโคเนตและโซเดียมกลีเซอโรฟอสเฟตในสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำสำหรับทารกแรกเกิดที่ประกอบด้วยสารละลายกรดอะมิโนในชื่อการค้าอะมิพาเรน
คำสำคัญ:
สารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำ, แคลเซียม, ออร์แกนิกฟอสเฟต, ทารกแรกเกิด, ความเข้ากันได้บทคัดย่อ
กฤติยา สธนเสาวภาคย์, อุรารัตน์ อริยวังโส, นวภรณ์ วิมลสาระวงค์. ความเข้ากันได้ของแคลเซียมกลูโคเนตและโซเดียมกลีเซอโรฟอสเฟตในสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำสำหรับทารกแรกเกิดที่ประกอบด้วยสารละลายกรดอะมิโนในชื่อการค้าอะมิพาเรน. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล 2563;30(2):105-117.
ความเป็นมา: การเตรียมสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำสำหรับทารกแรกเกิด ในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี มีการใช้กรดอะมิโนในชื่อการค้าอะมิพาเรนเป็นส่วนประกอบซึ่งอาจมีผลต่อความเข้ากันได้ของแคลเซียมกลูโคเนตและโซเดียมกลีเซอโรฟอสเฟต
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินความเข้ากันได้ของแคลเซียมกลูโคเนตและโซเดียมกลีเซอโรฟอสเฟตในสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำที่เตรียมด้วยกรดอะมิโนในชื่อการค้าอะมิพาเรนสำหรับทารกแรกเกิด
วิธีวิจัย: ทำการศึกษา 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาความเข้ากันได้ของแคลเซียมกลูโคเนตและโซเดียมกลีเซอโรฟอสเฟตที่ความเข้มข้น 0-50 mmol/L ในตัวอย่างสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำที่ประกอบด้วยเด็กซ์โตรสความเข้มข้น 10% กรดอะมิโนในชื่อการค้าอะมิพาเรน ความเข้มข้น 1% และ 4% วัดขนาดอนุภาคในสารอาหารเมื่อเตรียมเสร็จทันทีและหลังจากเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24, 48 และ 72 ชั่วโมง ระยะที่ 2 ศึกษาความเข้ากันได้ของแคลเซียมกลูโคเนตและโซเดียมกลีเซอโรฟอสเฟตในสารอาหารที่ให้ทางหลอดเลือดดำที่แพทย์สั่งให้ผู้ป่วย วัดขนาดอนุภาคเมื่อเตรียมเสร็จทันทีและเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
ผลการวิจัย: จากการศึกษาระยะที่ 1 และ 2 พบว่า แคลเซียมกลูโคเนตและโซเดียมกลีเซอโรฟอสเฟตมีความเข้ากันได้ทางกายภาพในทุกตัวอย่างของสารอาหารทั้งเมื่อเตรียมเสร็จทันทีและเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24, 48 และ 72 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมง ตามลำดับ
สรุปผล: แคลเซียมกลูโคเนตและโซเดียมกลีเซอโรฟอสเฟตมีความเข้ากันได้ทางกายภาพในสารอาหารทางหลอดเลือดดำที่ผสมกรดอะมิโนในชื่อการค้าอะมิพาเรนสำหรับทารกแรกเกิด
References
มิรา โครานา. Enteral and parenteral nutrition. ใน: วราภรณ์ แสงทวีสิน, วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล, สุนทร ฮ้อเผ่าพันธ์, บรรณาธิการ. ปัญหาทารกแรกเกิด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพลส จำกัด; พ.ศ.2550. หน้า 250-65.
Ronchera-OMS CL, Jimenez NV, Peidro J. Stability of parenteral nutrition admixtures containing organic phosphates. Clin Nutr. 1995;14:373-80.
Allwood MC, Keaeney MCJ. Compatibility and stability of additives in parenteral nutrition admixtures. Nutrition. 1998;14 (9):697-706.
Bouchoud L, Fonzo-Christe C, Sadeghipour F, Bonnabry P. Maximizing calcium and phosphate content in neonatal parenteral nutrition solutions using organic calcium and phosphate salts. J Parenter Enteral Nutr. 2010;34:542-5.
Mackey M, Anderson C. Physical compatibility of sodium glycerophosphate and calcium gluconate in pediatric parenteral nutrition solutions. J Parenter Enteral Nutr. 2015;39(6):725-8.
Anderson C, Mackey M. Physical compatibility of calcium chloride and sodium glycerophosphate in pediatric parenteral nutrition solutions. J Parenter Enteral Nutr. 2016;40(8):1166-9.
Thowladda N, Siritientong T. Compatibility of calcium and sodium glycerophosphate in parenteral nutrition solutions. TJPS. 2016;40 (special issue);176-9.
Thowladda N, Siritientong T. Are there maximum compatible concentrations of calcium gluconate and sodium glycerophosphate in infant parenteral nutrition solutions? J Pharm Sci & Res. 2018;10:2074-8.
Horiba SZ-100 Nanopartica Series Instruments. [internet]. [cited 2020 November 2] Available from: https://www.horiba.com/en_en/products/detail/action/show/Product/sz-100-1356/.
Huston RK, Christensen JM, Rosa JE. Calcium chloride in neonatal parenteral nutrition: compatibility studies using laser methodology. PLOS ONE 2014;9:1-5.
Malvern Zetasizer Nano ZSP. [internet]. [cited 2020 November 2] Available from: http://www.strec.chula.ac.th/base/equipments-rates/zetasizerzetasizer.
The United States Pharmacopeia, The National Formulary. Vol1, USP 41: NF 41. Rockville, Maryland; United States Pharmacopeia Convention Inc; 2018.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ