พิษวิทยาของพืชกระท่อม
คำสำคัญ:
กระท่อม, Mitragyna speciosa, mitragynineบทคัดย่อ
พืชกระท่อม (Kratom) มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. ในตำรายาไทย ใบกระท่อมมีสรรพคุณใช้ระงับอาการปวดท้อง แก้บิด แก้ท้องเสีย ระงับอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย เป็นต้น ปัจจุบันพืชกระท่อมยังมีการใช้แบบดั้งเดิมในชุมชนภาคใต้ของประเทศไทย โดยการเคี้ยวใบกระท่อมสด หรือนำไปแปรรูป เช่น ต้มน้ำดื่ม ตากแห้ง หรือบดเป็นผงเพื่อชงดื่ม เพื่อให้สามารถทำงานกลางแจ้งได้นานขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากในใบกระท่อมมีสารสำคัญหลักคือ mitragynine ซึ่งออกฤทธิ์โดยการจับกับตัวรับโอปิออยด์ ส่งผลให้พืชกระท่อมมีฤทธิ์แก้ปวด รวมถึงฤทธิ์อื่นๆ ที่คล้ายโอปิออยด์ เช่น ฤทธิ์ที่ทำให้รู้สึกเคลิ้มสุข เริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30 นาทีหลังจากรับประทานใบกระท่อม ด้วยฤทธิ์ดังกล่าว จึงเกิดปัญหาการนำพืชกระท่อมไปใช้ในทางที่ผิด โดยนำน้ำต้มใบกระท่อมไปผสมกับยาแผนปัจจุบัน น้ำอัดลม เครื่องดื่มบำรุงกำลัง หรือสารอื่นเพื่อให้เกิดความมึนเมา คึกคะนอง สนุกสนาน ในกลุ่มเยาวชน ที่รู้จักกันในชื่อ “สี่คูณร้อย” จากปัญหาดังกล่าวจึงมีผู้ป่วยหลายรายเกิดภาวะพิษจากพืชกระท่อม (เช่น เกิดอาการใจสั่น สับสน กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ความดันโลหิตสูง) รวมถึงภาวะพิษจากยาหรือสารอื่นที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งการดูแลรักษาที่สำคัญคือการรักษาประคับประคองและการรักษาตามอาการ รวมถึงการติดตามอาการอย่างเหมาะสม ไม่มียาต้านพิษจำเพาะ ทั้งนี้พืชกระท่อมยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 เพียงแต่ผ่อนปรนให้ใช้พืชกระท่อมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการศึกษาวิจัยเท่านั้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ