การทำให้ปัสสาวะเป็นด่างในภาวะพิษจากซาลิไซเลต
คำสำคัญ:
aspirin, salicylates, sodium bicarbonate, urine alkalinizationบทคัดย่อ
Urine alkalinization คือ การทำให้ปัสสาวะเป็นด่างเพื่อให้สารที่เป็นกรดอ่อนเกิดการแตกตัวและถูกเร่งขับออกไปทางปัสสาวะได้ ใช้ในการรักษาภาวะพิษจากสารหลายชนิดเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดอาการที่รุนแรงขึ้น salicylates เป็นสารที่ใช้วิธี urine alkalinization ในการรักษาภาวะพิษเช่นกัน ในกรณีของ salicylates เกินขนาดพบว่ามีความเป็นพิษต่อร่างกายหลายระบบไม่ว่าจะเป็นทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ระบบประสาทหรือส่งผลต่อการสร้างพลังงานของเซลล์ เภสัชจลนศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลต่อความรุนแรงและระยะเวลาความเป็นพิษด้วย อาการพิษที่พบในผู้ป่วยที่ได้รับสารแบบเรื้อรังมักไม่มีความจำเพาะจึงทำให้ยากต่อการวินิจฉัย ซึ่งแตกต่างจากผู้ป่วยที่ได้รับสารแบบเฉียบพลันที่มีประวัติการรับสารและอาการนำที่ช่วยให้สังเกตได้ เช่น อาเจียน หายใจเร็ว มีเสียงในหู พบ respiratory alkalosis ร่วมกับ metabolic acidosis เป็นต้น สำหรับการรักษาภาวะพิษจากซาลิไซเลต คือ ให้การรักษาทั่วไป การลดการปนเปื้อน และแนะนำให้ทำ urine alkalinization ในผู้ที่ได้รับ salicylates มาในปริมาณสูงโดยใช้โซเดียมไบคาร์บอเนตร่วมกับติดตาม pH ของปัสสาวะให้อยู่ที่ 7.5-8 โดยที่ pH ของเลือดไม่เกิน 7.55 ทั้งนี้ระหว่างการทำ urine alkalinization ต้องติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่นด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยบางรายซึ่งไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้หรือไม่ประสบผลสำเร็จในการรักษา อาจต้องพิจารณาถึงการฟอกเลือดร่วมด้วย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ