ATP Citrate Lyase Inhibitors: A Novel Target for Treatment of Dyslipidemia
คำสำคัญ:
ATP citrate lyase, ACLY, bempedoic acid, ETC-1002, dyslipidemia, statin intoleranceบทคัดย่อ
เอนไซม์ ATP citrate lyase (ACLY) เป็น upstream enzyme ของเอนไซม์ 3-hydroxy-3-methylglutarylcoenzyme A (HMG-CoA) reductase ที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ไขมันในร่างกาย โดยเอนไซม์ ACLY ทำหน้าที่สร้าง acetyl-CoA จาก citrate เพื่อนำไปใช้ในการสังเคราะห์กรดไขมันและคอเลสเตอรอลต่อไป ข้อมูลการศึกษาทางพันธุกรรมพบว่า การทำงานของเอนไซม์ ACLY ที่น้อยกว่าปกติ สามารถลดระดับ low-density lipoprotein cholesterol (LDL-C) และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ยากลุ่ม ACLY inhibitor เป็นยาใหม่ที่ลดระดับไขมันในเลือดด้วยฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ACLY โดยยา bempedoic acid (ETC-1002) เป็นยาชนิดแรกในกลุ่มนี้ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ACLY แบบแข่งขันกับ citrate จึงมีผลลดปริมาณ acetyl-CoA ในเซลล์ ทำให้การสังเคราะห์ไขมันในร่างกายลดลงได้ โดยเฉพาะระดับ LDL-C ซึ่งเกิดผ่านการเพิ่มจำนวนของตัวรับ LDL (LDL receptor) คล้ายการออกฤทธิ์ของยากลุ่ม statin แต่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่อกล้ามเนื้อน้อยกว่า ยา bempedoic acid ถูกรับรองให้ใช้เป็นยาเดี่ยวหรือใช้ร่วมกับยา ezetimibe ในการรักษาภาวะไขมันผิดปกติจากพันธุกรรม (heterozygous familial hypercholesterolemia) หรือผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเหตุจากหลอดเลือดแข็ง (atherosclerotic cardiovascular disease) ที่ได้รับยากลุ่ม statin แต่ยังมีระดับ LDL-C สูงกว่าเป้าหมาย ดังนั้น ความเข้าใจในหน้าที่ของเอนไซม์ ACLY และคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของยา bempedoic acid จะทำให้สามารถใช้ยาได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย และได้ประโยชน์สูงสุดต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ