การพัฒนาชั้นวางยาควบคุมด้วยระบบบาร์โค้ด เพื่อลดความคลาดเคลื่อนในการจัดยาสำหรับยากลุ่มที่มีชื่อพ้องมองคล้าย
คำสำคัญ:
ความคลาดเคลื่อนก่อนจ่ายยา, ความคลาดเคลื่อนทางยา, ยากลุ่มชื่อพ้องมองคล้าย, บาร์โค้ดบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ความคลาดเคลื่อนทางยาเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของระบบการจัดการด้านยา เป็นความเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ความคลาดเคลื่อนก่อนจ่ายยาเป็นความคลาดเคลื่อนทางยาที่เกิดในกระบวนการก่อนจ่ายยา หากลดอุบัติการณ์ได้ จะลดโอกาสในการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาที่ส่งผลต่อผู้ป่วย
วัตถุประสงค์: พัฒนาชั้นวางยาที่ควบคุมด้วยระบบบาร์โค้ด โดยออกแบบเพื่อป้องกันความคลาดเคลื่อนก่อนจ่ายยาที่เกิดจากการจัดยาผิดชนิด ผิดรูปแบบ ผิดความแรง โดยทดลองใช้กับยากลุ่มชื่อพ้องมองคล้าย (Look-alike Sound-alike drug, LASA drug) และเรียกชั้นวางยานี้ว่า LASA safety shelf
วิธีวิจัย: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบ่งการศึกษาเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกเป็นการพัฒนา LASA safety shelf และช่วงที่สองเป็นการศึกษาผลการใช้งานโดยเก็บข้อมูลเปรียบเทียบความคลาดเคลื่อนในการจัดยา 2 เดือนก่อนและหลังการใช้งาน
ผลการวิจัย: LASA s afety shelf ช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการจัดยากลุ่ม LASA จากการจัดยาผิดชนิด ผิดรูปแบบ และผิดความแรง เมื่อเทียบกับการจัดยาโดยใช้ชั้นวางยาแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.01) โดยลดความคลาดเคลื่อนจากร้อยละ 26.50 เป็นร้อยละ 6.45 พบความคลาดเคลื่อน 4 ครั้ง โดยทั้งหมดเป็นความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการที่ไม่ได้จัดยาโดยใช้ LASA safety shelf โดยค่าเฉลี่ย±S.D. ระยะเวลาในการจัดยาระหว่างการใช้ชั้นวางยาในเดือนแรกเพิ่มขึ้นจาก 455.67±552.43 วินาที เป็น 651.94±608.28 วินาที แต่ลดลงในเดือนที่สองเป็น 568.95±526.62 วินาที ส่วนระยะเวลาจัดยาในช่วงเวลาเร่งด่วน เพิ่มขึ้นจากก่อนใช้ 162.76 วินาที ในเดือนแรก และเพิ่มขึ้น 91.63 วินาที ในเดือนที่สอง ในส่วนความพึงพอใจในการใช้งานของผู้ใช้งานอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก และร้อยละ 86.05 เลือกที่จะใช้ LASA safety shelf
สรุปผล: จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าชั้นวางยาที่ควบคุมด้วยระบบบาร์โค้ด ช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการจัดยาได้ แต่อาจทำให้ระยะเวลาในการจัดยาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ดังนั้นควรพัฒนา LASA safety shelf ต่อไปเพื่อลดระยะเวลาในการจัดยาและเพิ่มความสะดวกในการใช้งาน
References
Makary MA, Daniel M. Medical error-the third leading cause of death in the US. BMJ [Internet]. 2016 May [cited 2017 Sep 30];2016(353):i2139. Available from: https://doi.org/10.1136/bmj.i2139.
กรัณฑ์รัตน์ ทิวถนอม, ศุภลักษณ์ ธนานนท์นิวาส. ความคลาดเคลื่อนทางยาและแนวทางป้องกันเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย. Veridian E–Journal, Silpakorn University. สิงหาคม 2552;2(1):196-217.
Aldhwaihi K, Schifano F, Pezzolesi C, Umaru N. A systematic review of the nature of dispensing errors in hospital pharmacies. Integrated Pharmacy Research and Practice [Internet]. 2016 January [cited 2017 Oct 15];2016(5):1-10. Available from: https://doi.org/10.2147/IPRP.S95733.
Soontornpas R, Boonlue T, Kulvarotama S, Soontornpas C. Monitoring of near miss error by predispensing recheck at out-patient pharmacy service, Department of Pharmacy, Srinagarind Hospital. Srinagarind Med J. 2012;27(Suppl):150-1.
เศรษฐภูมิ เถาชารี. Logistic & Supply Chain การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์. Industrial E Magazine [Internet]. 2015 Oct [cited 2017 Oct 15];2015(275): Available from: http://www.thailandindustry.com/onlinemag/view2.php?id=110§ion=5&issues=10
Poon EG, Cina JL, Churchill WW, Mitton P, McCrea ML, Featherstone E, et al. Effect of bar-code technology on the incidence of medication dispensing errors and potential adverse drug events in a hospital pharmacy. AMIA Annu Symp Proc [Internet]. 2005 [cited 2017 Oct 15];2005(1085). Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1560475.
Wang BNT, Brummond R, Stevenson JG. Comparison of barcode scanning by pharmacy technicians and pharmacists’ visual checks for final product verification. Am J Health Syst Pharm. [Internet]. 2016 Jan 15 [cited 2017 Oct 15];73(2):69-75. Available from: http://www. ajhp.org/content/73/ 2/69.
ทันพงษ์ ภู่รักษ์. เอกสารประกอบการสอนวิชาไมโครคอนโทรลเลอร์เบื้องต้น [อินเตอร์เน็ต]. สระบุรี: วิทยาลัยเทคนิคสระบุรี; 2559 [สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2561]. สืบค้นจาก: http://www.sbt.ac.th/new/sites/default/files/TNP_ Unit_1.pdf.
สมชาย เบียนสูงเนิน. ปฐมบท:ไมโครคอนโทรลเลอร์ [อินเตอร์เน็ต]. ปทุมธานี: Microcontroller Application by Somchai; 2 มีนาคม 2554 [สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2561]. สืบค้นจาก: http://microbysom.blogspot.com/2011/03/blog-post.html.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ