ภาวะ metabolic acidosis จากยาหรือสารพิษ
คำสำคัญ:
metabolic acidosis, renal tubular acidosis, lactic acidosis, drug-inducedบทคัดย่อ
ภาวะ metabolic acidosis เป็นภาวะที่มี hydrogen ion (H+) เพิ่มขึ้นและมี bicarbonate ion (HCO3-) ในร่างกายลดลง อาจเกิดได้จากพยาธิสภาพของโรค และยาหรือสารพิษ โดยยาหรือสารพิษ 1 ชนิดอาจมีกลไกการเกิดได้มากกว่า 1 กลไก ได้แก่ การรับประทานสารตั้งต้นที่เป็นกรด การสูญเสียความเป็นด่างจากไตและทางเดินอาหาร การเพิ่มการสร้างกรดแก่อินทรีย์ในร่างกาย การขับกรดออกทางไตบกพร่อง การวินิจฉัยจะอาศัยผลทางห้องปฏิบัติการเป็นหลัก เช่น electrolytes, anion gap, arterial blood gas เป็นต้น เนื่องจากอาการของโรคนั้นไม่จำเพาะเจาะจง เมื่อพิจารณาจาก anion gap ภาวะ metabolic acidosis สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ wide anion gap acidosis และ normal anion gap acidosis ปัจจัยสำคัญในการรักษาภาวะ metabolic acidosis คือ การหาสาเหตุให้พบ และแก้ไขที่สาเหตุ ควรหยุดยาหรือสารพิษที่เป็นสาเหตุ ให้การรักษาตามอาการ และให้การรักษาที่จำเพาะเจาะจงกับยาหรือสารพิษนั้น ภาวะ metabolic acidosis นอกจากจะเกิดได้จากการรับประทานยาเกินขนาดหรือสารพิษแล้ว ยังสามารถเกิดจากการได้รับยาที่ไม่เหมาะสมอีกด้วย เช่น การได้รับยาที่ไม่ได้ปรับขนาดยาตามค่าการทำงานของไต การได้รับยาร่วมกันกับยาอื่นที่อาจมีปฏิกิริยาระหว่างกัน เป็นต้น ดังนั้นเภสัชกรจึงสามารถช่วยป้องกันภาวะดังกล่าวได้ ด้วยการดูแลและเฝ้าระวังการใช้ยาของผู้ป่วยให้เหมาะสม
References
Pham AQ, Xu LH, Moe OW. Drug-induced metabolic acidosis. F1000Res. 2015;4:1-12.
Charles JC, Heilman RL. Metabolic acidosis. Hosp Physician. 2005;41:37-42.
Emmett M, Szerlip H. Approach to the adult with metabolic acidosis. Stem RH, Forman JP, ed. Uptodate [internet]. 2020 [cited 2020 May 29]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/approach-to-the-adult-with-metabolic-acidosis?search=metabolic%20acidosis&source=search_result&selectedTitle=1~150&usage_type=default&display_rank=1
Holt CT, Hitchings AW. Drug-induced metabolic acidosis. Adverse Drug React Bull. 2017; 304(1):1176-8.
Judge BS. Differentiating the causes of metabolic acidosis in the poisoned patient. Clin Lab Med. 2006;26(1):31.
Berend K, de Vries AP, Gans RO. Physiological approach to assessment of acid-base disturbances. N Engl J Med. 2014;371(15):1434-45.
Jung B, Martinez M, Claessens YE, Darmon M, Klouche K, Lautrette A, et al. Diagnosis and management of metabolic acidosis: guidelines from a French expert panel. Ann Intensive Care. 2019;9(1):92.
Cohen JP, Quan D. Alcohols. In: Tintinalli JE, Stapczynski JS, Ma OJ, Yealy DM, Meckler GD, Cline DM, editors. Tintinalli's emergency medicine: a comprehensive study guide. 8th ed. New York: McGraw-Hill Education; 2016. p. 1243-51.
วินัย วนานุกูล. Toluene และ Xylene. ใน: ธีระศิษฎ์ เฉินบำรุง, อมรรัตน์ สุขปั้น, บรรณาธิการ. การรักษาภาวะพิษสารเคมี 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี พลัส กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด; 2559. หน้า 116-21.
Emmett M, Szerlip H. Causes of lactic acidosis. Stem RH, Forman JP, editors. Uptodate [internet]. 2020 [cited 2020 May 29]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/causes-oflactic-acidosis/print?search=lactic%20acidosis&source=search_result&selectedTitle=1~150&usage_type=default&display_rank=1
Wiener SW, Goldfarb DS. Toxic alcohols. In: Hoffman RS, Howland MA, Lewin NA, Nelson LS, Goldfrank LR, Flomenbaum N, editors. Goldfrank’s toxicologic emergencies. 10th ed. New York: McGraw-Hill Education; 2019. p. 2304-22.
IBM Micromedex® POISINDEX®: POISINDEX® System (electronic version). IBM Watson Health, Greenwood Village, Colorado, USA. [cited 2020 May 28]. Available from: https://www.micromedexsolutions.com/
ธัญจิรา จิรนันทกาญจน์. Sodium bicarbonate. ใน: จารุวรรณ ศรีอาภา, บรรณาธิการ. ยาต้านพิษ 3. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ศรีเมืองการพิมพ์; 2556. หน้า 49-51.
IBM Micromedex® DRUGDEX®: IBM Micromedex® DRUGDEX® (electronic version). IBM Watson Health, Greenwood Village, Colorado, USA. [cited 2020 May 28]. Available from: https://www.micromedexsolutions.com/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ