การศึกษาความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวซิลเดนาฟิลรูปแบบยาน้ำแขวนตะกอนสำหรับรับประทาน
คำสำคัญ:
ความคงสภาพ, ยาเตรียมเฉพาะคราว, ซิลเดนาฟิล, ยาน้ำแขวนตะกอน, ผลิตภัณฑ์ยาสามัญบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ซิลเดนาฟิลใช้รักษาภาวะความดันของหลอดเลือดแดงปอดสูงในผู้ป่วยเด็ก ปัจจุบันยังไม่มีรูปแบบยาน้ำแขวนตะกอนจำหน่ายในประเทศไทย
วัตถุประสงค์: พัฒนาตำรับยาเตรียมเฉพาะคราวซิลเดนาฟิลรูปแบบยาน้ำแขวนตะกอนและศึกษาความคงสภาพของตำรับ
วิธีวิจัย: เตรียมยาน้ำแขวนตะกอนซิลเดนาฟิลความเข้มข้น 2.5 mg/mL ด้วยน้ำกระสายยา 4 สูตร แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นเพียง syrup ความเข้มข้นร้อยละ 80 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ผสมกับ sodium benzoate ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร (ตำรับ 1) ขณะที่กลุ่มสองมีส่วนผสมของ CMC mucilage ความเข้มข้นร้อยละ 1.5 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร, syrup ความเข้มข้นร้อยละ 80 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร และน้ำในอัตราส่วนต่างๆ (ตำรับ 2-4) และเติม sodium benzoate ความเข้มข้นร้อยละ 0.1 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร บรรจุยาในขวดสีชา และเก็บที่ 2-8 และ 30±2 องศาเซลเซียส/ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 75±5 นาน 120 วัน
ผลการวิจัย: หลังเตรียมยาเสร็จ พบว่ายาน้ำแขวนตะกอนทุกตำรับมีสีฟ้าอ่อน การกระจายของตะกอนสม่ำเสมอ ค่า pH อยู่ในช่วง 4.8-5.6 เมื่อเก็บยาไว้ที่ 2 สภาวะ นาน 120 วัน ตำรับ 2 และ 3 มีลักษณะภายนอกไม่เปลี่ยนแปลงและมีการกระจายของตะกอนสม่ำเสมอหลังกลับขวด ค่า pH และจำนวนครั้งในการกลับขวดเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย และมีปริมาณยาคงเหลือในตำรับมากกว่าร้อยละ 90 อย่างไรก็ตามพบว่าสูตรตำรับ 3 มีลักษณะทางกายภาพที่ดีกว่า จึงนำไปทดสอบความคงสภาพทางจุลชีววิทยา พบว่าไม่พบโคโลนีของเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์และรา และ Escherichia coli
สรุปผล: ยาน้ำแขวนตะกอนซิลเดนาฟิลที่เตรียมจากผลิตภัณฑ์ยาสามัญที่ใช้ส่วนผสมของ CMC mucilage ความเข้มข้นร้อยละ 1.5 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร และ syrup ความเข้มข้นร้อยละ 80 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร (1:1) มีความคงสภาพทางกายภาพ เคมี และจุลชีววิทยาที่ดีเมื่อเก็บไว้ที่ 2-8 และ 30±2 องศาเซลเซียส/ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 75±5 นาน 120 วัน
References
Gallié N, Ghofrani HA, Torbicki A, Barst RJ, Rubin LJ, Badesch D, et al. Sildenafil citrate therapy for pulmonary arterial hypertension. N Engl J Med. 2005;353(20):2148-57.
Durongpisitkul K, Pornrattanarungsi S, Panjasamanvong P, Chungsomprasong P. Efficacy and safety of high dose generic sildenafil in Thai patients with pulmonary arterial hypertension. J Med Assoc Thai. 2011;94(4):421-6.
Nahata MC, Morosco RS, Brady MT. Extemporaneous sildenafil citrate oral suspensions for the treatment of pulmonary hypertension in children. Am J Health Syst Pharm. 2006;63(3):254-7.
Sae Yoon A, Sawatdee S, Woradechakul C, Chee KS, Atipairin A. Physicochemical and microbiological stability of the extemporaneous sildenafil citrate oral suspension. Sci Pharm. 2015;83(4):659-70.
The International Conference on Harmonisation (ICH) Committee. ICH Harmonised Tripartite Guideline, Guidance for Industry Q1A(R2) Stability testing of new drug substances and products [Internet]. Geneva: ICH; updated 2003 February 6; [cited 2018 Dec 1]. Available from: https://database.ich.org/sites/default/files/Q1A%28R2%29%20Guideline.pdf.
The United States Pharmacopeial Convention Inc. The United States Pharmacopeia and the National Formulary (USP 41-NF 36). Maryland: The United States Pharmacopoeial Convention; 2017. 8228 p.
The Medicines and Healthcare Products Regulatory Agency. The British Pharmacopoeia Commission. The British Pharmacopoeia 2018. London: The Stationery Office; 2017. 6576 p.
The International Conference on Harmonisation (ICH) Committee. ICH Harmonised Tripartite Guideline, Guidance for Industry Q2(R1) Validation of analytical procedures: Text and methodology [Internet]. Geneva: ICH; updated 2005 November; [cited 2018 Dec 1]. Available from: https://database.ich.org/sites/default/files/Q2_R1__Guideline.pdf.
U.S. Food and Drug Administration (FDA). REVATIO (sildenafil) label [Internet]. Maryland: U.S. FDA; updated 2018 October 10; [cited 2018 Dec 1]. Available from: http://www.accessdata.fda.gov/drugsatfda_docs/label/2014/021845s011,022473s004,0203109s002lbl.pdf.
U.S. Food and Drug Administration (FDA). FDA drug safety communication: FDA recommends against use of Revatio (sildenafil) in children with pulmonary hypertension [Internet]. Maryland: U.S. FDA; updated 2017 December 15; [cited 2018 Dec 1]. Available from: http://www.fda.gov/Drugs/DrugSafety/ucm317123.htm.
U.S. Food and Drug Administration (FDA). FDA drug safety communication: FDA clarifies warning about pediatric use of Revatio (sildenafil) for pulmonary arterial hypertension [Internet]. Maryland: U.S. FDA; updated 2016 January 1; [cited 2018 Dec 1]. Available from: http://www.fda.gov/Drugs/DrugSafety/ucm390876.htm.
European Medicines Agency (EMA). Assessment report for Revatio. International non-proprietary name: sildenafil. Procedure No. EMEA/H/C/000638/II/0028 [Internet]. London: EMA; updated 2011; [cited 2018 Dec 1]. Available from: http://www.ema.europa.eu/docs/en_GB/document_library/EPAR_-_Assessment_Report_-_Variation/human/000638/WC500107804.pdf.
The Heart Association of Thailand under the Royal Patronage of His Majesty the King. Thai guideline for diagnosis and treatment of pulmonary hypertension 2013. 2nd ed. Bangkok: Colour Harmony Co. Ltd.; 2013. 75 p.
The Paediatric Formulary Committee. British National Formulary for Children (BNFC) 2011–2012. London: The British Medical Association, the Royal Pharmaceutical Society of Great Britain, the Royal College of Paediatrics and Child Health, and the Neonatal and Paediatric Pharmacists Group; 2011. 844 p.
The United States Pharmacopeial Convention Inc. The United States Pharmacopeia and the National Formulary (USP 39-NF 34). Sildenafil compounded oral suspension. Maryland: The United States Pharmacopoeial Convention; 2016. 8228 p.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ