อุบัติการณ์และการจัดการของอาการยึกยือเหตุยาในผู้ป่วยจิตเวช : การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังของโรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • ทวนธน บุญลือ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • เจษฎา ทองเถาว์ กลุ่มการแพทย์ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
  • ชมภูนุช วีระวัธนชัย กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
  • กมลรัตน์ โสมรักษ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์
  • อภิรดี แสงงาม กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

คำสำคัญ:

อาการยึกยือเหตุยา, โรคทางจิตเวช, ยาต้านโรคจิต

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: อาการยึกยือเหตุยาเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญจากยาต้านโรคจิต

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และการจัดการอาการยึกยือเหตุยาในผู้ป่วยโรคทางจิตเวช

วิธีวิจัย: ทำการศึกษาย้อนหลังโดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2550 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2560 จากเวชระเบียนผู้ป่วยของโรงพยาบาลจากผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยอาการยึกยือเหตุยาที่มีรหัสวินิจฉัย 333.85 หรือ G24.01 หรือผู้ป่วยที่มีอาการที่เข้าได้กับอาการยึกยือเหตุยาแต่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัย ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย: การศึกษานี้พบผู้ป่วยที่เกิดอาการยึกยือเหตุยา จำนวน 112 คน คิดเป็นอุบัติการณ์ร้อยละ 0.14 อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยคือ 53 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ได้รับการวินิจฉัยโรคจิตเภท (F20-F29) มากที่สุด บริเวณที่เกิดอาการยึกยือเหตุยาที่พบมากที่สุด คือ รอบปาก จำนวน 105 คน คิดเป็นร้อยละ 72.41 สำหรับยาที่ทำให้เกิดอาการยึกยือเหตุยา พบว่ายาต้านโรคจิตกลุ่มเก่าเป็นสาเหตุมากที่สุดถึงร้อยละ 70.06 ยาที่มีรายงานมากที่สุด คือ Fluphenazine long-acting injection การจัดการอาการยึกยือเหตุยาส่วนใหญ่จัดการโดยการลดขนาดยาที่เป็นสาเหตุ รองลงมาคือการเปลี่ยนไปใช้ยา clozapine หรือยาอื่นที่ความเสี่ยงต่ำกว่า ซึ่งพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการลดลงหรือไม่มีอาการหลังจากได้รับการจัดการ

สรุปผล: อาการยึกยือเหตุยาพบอุบัติการณ์ร้อยละ 0.14 ส่วนใหญ่มาจากการใช้ยาต้านโรคจิตกลุ่มเก่าและเมื่อได้รับการจัดการผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นหรืออาการหายไป

Author Biographies

ทวนธน บุญลือ, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ภ.บ., ว.ภ. (เภสัชบำบัด)

เจษฎา ทองเถาว์, กลุ่มการแพทย์ โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

พ.บ., ว.ว. (จิตเวชศาสตร์)

ชมภูนุช วีระวัธนชัย, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

ภ.บ., ภ.ม. (เภสัชกรรมคลินิก)

กมลรัตน์ โสมรักษ์, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

ภ.บ., ภ.ม. (เภสัชกรรมคลินิก)

อภิรดี แสงงาม, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

ภ.บ., ภ.ม. (เภสัชกรรมคลินิก)

References

Citrome L, Saklad SR. Revisiting tardive dyskinesia: focusing on the basics of identification and treatment. J Clin Psychiatry. 2020;81(2):TV18059AH3C. doi:10.4088/JCP.TV18059AH3C.

Waln O, Jankovic J. An update on tardive dyskinesia: from phenomenology to treatment. Tremor Other Hyperkinet Mov (NY). 2013;3:1-11. doi: 10.7916/D88P5Z71.

Lerner PP, Miodownik C, Lerner V. Tardive dyskinesia (syndrome): Current concept and modern approaches to its management. Psychiatry Clin Neurosci. 2015;69(6):321-34.

Jankelowitz SK. Treatment of neurolept-induced tardive dyskinesia. Neuropsychiatr Dis Treat. 2013;9:1371-80.

Bhidayasiri R, Fahn S, Weiner WJ, Gronseth GS, Sullivan KL, Zesiewicz TA. Evidence-based guideline: treatment of tardive syndromes: report of the Guideline Development Subcommittee of the American Academy of Neurology. Neurology. 2013;81(5):463-9.

Woods SW, Morgenstern H, Saksa JR, Walsh BC, Sullivan MC, Money R, et al. Incidence of tardive dyskinesia with atypical and conventional antipsychotic medications: Prospective cohort study. J Clin Psychiatry. 2010;71(4):463-74. doi:10.4088/JCP.07m03890yel.

Carbon M, Hsieh CH, Kane JM, Correll CU. Tardive dyskinesia prevalence in the period of second-generation antipsychotic use: a meta-analysis. J Clin Psychiatry. 2017;78(3):e264-e78. doi:10.4088/JCP.16r10832.

Lerner V, Miodownik C. Motor symptoms of schizophrenia: is tardive dyskinesia a symptom or side effect? A modern treatment. Curr Psychiatry Rep. 2011;13(4):295-304.

Keepers GA, Fochtmann LJ, Anzia JM, Benjamin S, Lyness JM, Mojtabai R, et al. The American Psychiatric Association Practice Guideline for the treatment of patients with schizophrenia. Am J Psychiatry. 2020;177(9):868-72.

Achalia RM, Chaturvedi SK, Desai G, Rao GN, Prakash O. Prevalence and risk factors associated with tardive dyskinesia among Indian patients with schizophrenia. Asian J Psychiatr. 2014;9:31-5.

Solmi M, Pigato G, Kane JM, Correll CU. Clinical risk factors for the development of tardive dyskinesia. J Neurol Sci. 2018;389:21-7.

Yassa R, Jeste DV. Gender differences in tardive dyskinesia: a critical review of the literature. Schizophr Bull. 1992;18(4):701-15.

Zhang XY, Chen DC, Qi LY, Wang F, Xiu MH, Chen S, et al. Gender differences in the prevalence, risk and clinical correlates of tardive dyskinesia in Chinese schizophrenia. Psychopharmacology (Berl). 2009;205(4):647-54.

Diehl A, Reinhard I, Schmitt A, Mann K, Gattaz WF. Does the degree of smoking effect the severity of tardive dyskinesia? A longitudinal clinical trial. Eur Psychiatry. 2009;24(1):33-40.

Carbon M, Kane JM, Leucht S, Correll CU. Tardive dyskinesia risk with first- and second-generation antipsychotics in comparative randomized controlled trials: a meta-analysis. World Psychiatry. 2018;17(3):330-40.

Waln O, Jankovic J. An update on tardive dyskinesia: from phenomenology to treatment. Tremor and other hyperkinetic movements (New York, NY). 2013;3:tre-03-161-4138-1. doi: 10.7916/D88P5Z71.

Bhidayasiri R, Jitkritsadakul O, Friedman JH, Fahn S. Updating the recommendations for treatment of tardive syndromes: a systematic review of new evidence and practical treatment algorithm. J Neurol Sci. 2018;389:67-75.

Owens DC. Tardive dyskinesia update: treatment and management. BJPsych Advances. 2019;25(2):78-89.

Gharabawi GM, Bossie CA, Lasser RA, Turkoz I, Rodriguez S, Chouinard G. Abnormal involuntary movement scale (AIMS) and extrapyramidal symptom rating scale (ESRS): cross-scale comparison in assessing tardive dyskinesia. Schizophr Res. 2005;77(2-3):119-28.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022