การบริหารความเสี่ยงการใช้ยาร่วมกันหลายขนานในผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแผนกผู้ป่วยนอก โดยเครื่องมือ ARMOR
คำสำคัญ:
การใช้ยาร่วมกันหลายขนาน, เครื่องมือ ARMORบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมักเกิดปัญหาจากการใช้ยาร่วมกันหลายขนาน เครื่องมือ ARMOR มีรายงานว่าสามารถใช้จัดการความเสี่ยงจากการใช้ยาของผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวได้ แต่ยังไม่เคยนำมาใช้ในโรงพยาบาลระดับปฐมภูมิสังกัดกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการบริหารความเสี่ยงในการใช้ยาร่วมกันหลายขนานระดับบุคคลในผู้ป่วยนอก สูงอายุ ที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยใช้เครื่องมือ ARMOR
วิธีวิจัย: งานวิจัยกึ่งทดลองนี้ศึกษาในผู้ป่วยนอก 50 คน อายุอย่างน้อย 60 ปี ที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 2 พิษณุโลก และได้รับยาอย่างน้อย 5 ขนาน โดยนำเครื่องมือ ARMOR มาพัฒนารูปแบบการบริหารความเสี่ยงก่อนนำไปใช้ทางคลินิก จากนั้นประเมินผลการจัดการความเสี่ยง และ ประเมินความร่วมมือในการใช้ยาเพียงพอด้วย Medication Adherence Scale in Thais (MAST©) คะแนน ≥ 34
ผลการวิจัย: พบความเสี่ยงจากการใช้ยาในผู้ป่วย 23 ราย คิดเป็นร้อยละ 46 ในจำนวนนี้ที่พบมากที่สุดคือ เกิดอาการไม่พึงประสงค์ร้อยละ 83 จัดการความเสี่ยงดังกล่าว ด้วยการหยุดใช้ยา การปรับขนาด หรือทั้งสองอย่าง คิดเป็นร้อยละ 48, 48 และ 4 ตามลำดับ โดยมีผลการจัดการความเสี่ยงได้ร้อยละ 91 และ ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการใช้ยาเพียงพอ ร้อยละ 86
สรุปผล: รูปแบบการบริหารความเสี่ยงที่พัฒนาจากเครื่องมือ ARMOR สามารถใช้ในการบริหารความเสี่ยงจากการใช้ยาร่วมกันหลายขนานในกลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของแผนกผู้ป่วยนอก ในโรงพยาบาลระดับปฐมภูมิได้
References
ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง, กรรณิกา เทียรฆนิธิกูล, จันทร์จิรา ชอบประดิถ, สุรศักดิ์ สุนทร, วิมล สุวรรณเกษาวงศ์. โครงการวิจัยการพัฒนารายการยาเพื่อใช้คัดกรอง และลดโอกาสการเกิดปัญหาจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2554. IHPF/QUM 058-04/2554.
พสิษฐ์พล วัชรวงศ์วาน. ผู้ป่วยสูงอายุและการใช้ยาร่วมหลายขนาน: แนวทางการปรับปรุงการใช้ยาในแผนกผู้ป่วยนอก. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2559:16:50-9.
ศิรสา เรืองฤทธิ์ชาญกูล. การใช้ยาร่วมกันหลายขนานในผู้สูงอายุ. รามาธิบดีเวชสาร. 2561;41:95-104.
Martin D, Tony A., Rupert P. Polypharmcy and medicines optimization making it safe and sound [Internet]. London: The King’s fund; 2013 [cited 2019 Jul 15]. Available from : https://www.kingsfund.org.uk/sites/default/files/field/field_publication_file/polypharmacy-and-medicines-optimisation-kingsfund-nov13.pdf
Bulloch MN, Olin JL. Instruments for evaluating medication use and prescribing in older adults. J Am Pharm Assoc (2003). 2014;54(5):530-7.
Haque R. ARMOR: a tool to evaluate polypharmacy in elderly persons. Ann Longterm Care. 2009;17:26–30.
Raza H. ARMOR: a tool to evaluate polypharmacy in elderly persons. Ann Longterm Care. 2009. [cited 2019 Jul 15]; 2009. Available from: http://www.cse.msu.edu/~cse435/Handouts/EMR/Polypharmacy-ARMOR.pdf
American Diabetes Association. Pharmacologic approaches to glycemic treatment: standards of medical care in diabetes 2020. Diabetes Care. 2020;43(Supplement 1):S98-110.
Grundy SM, Stone NJ, Bailey AL, Beam C, Birtcher KK, Blumenthal RS, et al. Guideline on the management of blood cholesterol: executive summary: a report of the American college of cardiology/American heart association task force on clinical practice guidelines. J Am Coll Cardiol. 2019;73(24):3168-209.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย; 2560.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. เชียงใหม่: ทริค ธิงค์; 2562.
สมาคมโรคหลอดเลือดแดงแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติการใช้ยารักษาภาวะไขมันผิดปกติ เพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด พ.ศ. 2559. พิมพ์ครั้งที่ 1. ปทุมธานี: เอ-พลัส พริ้น; 2559.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนทำการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558 [อินเตอร์เนต]. [สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2562]. สืบค้นจาก: http://doh.hpc.go.th/data/HL/CKD_2015.pdf
The 2019 American Geriatrics Society Beers Criteria® Update Expert Panel. American Geriatrics Society 2019 updated AGS Beers criteria® for potentially inappropriate medication use in older adults. J Am Geriatr Soc. 2019;67(4):674-94.
O'Mahony D, O'Sullivan D, Byrne S, O'Connor MN, Ryan C, Gallagher P. STOPP/START criteria for potentially inappropriate prescribing in older people: version 2. Age Ageing. 2015;44(2):213-8.
อมรพรรรณ ศุภจำรูญ, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, วรนุช แสงเจริญ. ความตรงและความเที่ยงของแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับชาวไทย:การทดสอบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2561;10:607-19.
ศิรสา เรืองฤทธิ์ชาญกุล, อริชญา ไกรฤทธิ์, กรองทอง พุฒิโภคิน, สิรินทร ฉันศิริกาญจน, ทวีวัฒน์ อัศวโภคี, ศุภศิล สระเอี่ยม. การใช้ยาร่วมกันหลายขนานของผู้ป่วยสูงอายุที่รับการรักษาแผนกตรวจโรคผู้ป่วยนอกอายุรกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารพิษวิทยาไทย. 2561;33(1):35-50.
Sechana K, Rashmi A. Assessment on prevalence of polypharmacy in geriatric patients with cardiovascular diseases. IJISRT. 2020;5:397-408.
ธราดล โพธิษา, น้ำเงิน จันทรมณี, ทวีวรรณ ศรีสุขคำ. ปัจจัยทำนายความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนแห่งหนึ่งของจังหวัดพะเยา. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2563;13:400-11.
กมลนัทธ์ ม่วงยิ้ม, วิบูลย์ วัฒนนามกุล, อารีรัตน์ บากสะแต, จำปี วงศ์นาค, ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์, สุกัณฑา หมวดทอง. ความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในบุคลากรทางการแพทย์. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2560.
Jeffrey E. Reducing polypharmacy in the elderly [dissertation]. Nevada: Touro University; 2018 [cited 2022 Jul 21]. Available from: https://www.doctorsofnursingpractice.org/wp-content/uploads/project_form/complete_210618063923.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ