การเปรียบเทียบผลลัพธ์และต้นทุนของการใช้ปากกาและเข็มฉีดยาสำหรับอินซูลินชนิดผสม 70/30 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
คำสำคัญ:
ปากกาอินซูลิน, เข็มฉีดยาอินซูลิน, เบาหวานชนิดที่ 2, อินซูลินชนิดผสม 70/30บทคัดย่อ
ความเป็นมา: ยาฉีดอินซูลินชนิดผสม 70/30 ถูกกำหนดขนาดยามาในอัตราส่วนคงที่ จึงมีข้อจำกัดในการปรับขนาดยา โรงพยาบาลวารินชำราบ มีการฉีดอินซูลิน 2 รูปแบบ ได้แก่ แบบปากกา และเข็มฉีดยา ซึ่งมีความยากง่ายในการบริหารยาต่างกัน รูปแบบยาจึงอาจส่งผลต่อผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่างกัน
วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย ต้นทุนยาฉีดอินซูลินชนิดผสม 70/30 และเวชภัณฑ์ที่ใช้ร่วม ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับยาฉีดอินซูลินชนิดผสม 70/30 รูปแบบปากกาและเข็มฉีดยา
วิธีวิจัย: การศึกษาย้อนหลัง จากฐานข้อมูลเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการแบบผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวารินชำราบ ได้รับยาฉีดอินซูลินชนิดผสม 70/30 รูปแบบปากกาหรือเข็มฉีดยา ติดตามเป็นเวลา 36 เดือน ในช่วงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับปากกา 508 คน และได้รับเข็มฉีดยา 743 คน เปรียบเทียบร้อยละการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยประเมินจากค่า hemoglobin A1c (HbA1c) และ fasting blood sugar (FBS) อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย รวมถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อครั้งของยาฉีดอินซูลินรูปแบบปากกาและเข็มฉีดยารวมถึงเวชภัณฑ์ที่ใช้ร่วม
ผลการวิจัย: จำนวนครั้งที่ระดับน้ำตาลในเลือด HbA1c และ FBS ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ปากกาและเข็มฉีดยา อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายร้อยละ 67.3, 42.8 (p-value < 0.001) และ 52.6, 49.9 (p-value = 0.008) ตามลำดับ ผู้ป่วยกลุ่มที่ใช้ปากกามีโอกาสควบคุมระดับ HbA1c ให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย 2.39 เท่าเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ใช้เข็มฉีดยา (aOR=2.39, 95%CI 1.85-3.08, p-value < 0.001) ในขณะที่โอกาสในการควบคุมระดับ FBS ไม่ต่างกัน โดยผู้ป่วยที่พบปัญหาความร่วมมือในการปรับพฤติกรรมการกิน และการใช้ยาเบาหวานรูปแบบรับประทานร่วม มีโอกาสควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดทั้ง HbA1c และ FBS อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายได้น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่พบปัญหาและกลุ่มที่ไม่ใช้ยารับประทานร่วม ตามลำดับ ต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อครั้งของยาและเวชภัณฑ์ที่ใช้ร่วมในกลุ่มที่ใช้ปากกาและกลุ่มที่ใช้เข็มฉีดยา เป็นเงิน 186.00 และ 241.80 บาท ตามลำดับ
บทสรุป: ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับยาฉีดอินซูลินชนิดผสม 70/30 แบบปากกามีโอกาสควบคุมระดับ HbA1c ได้มากกว่ากลุ่มที่ใช้เข็มฉีดยา โดยต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อครั้งของยาและเวชภัณฑ์ที่ใช้ร่วมในกลุ่มที่ใช้ปากกาต่ำกว่ากลุ่มที่ใช้เข็มฉีดยา
References
สมเกียรติ โพธิสัตย์, สถิต นิรมิตมหาปัญหา, ชัยชาญ ดีโรจน์วงศ์, วีระศักดิ์ ศรินภากร, นภา ศิริวิวัฒนากุล, สิทธิชัย อาชายินดี, และคณะ. โรคเบาหวาน (diabetes mellitus) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: การแพทย์ไทย กระทรวงสาธารณสุข; 2554-2557 [สืบค้นเมื่อ 27 ม.ค. 2565]. สืบค้นจาก: http://training.dms.moph.go.th/rtdc/storage/app/uploads/public/59b/9e7/962/59b9e79625bf7359335246.pdf
The American Diabetes Association (ADA). Standards of medical care in diabetes – 2021 [Internet]. Diabetes Care. 2020 [cited 2022 Jan 25];44(Supplement_1):S1-232. Available from: https://diabetesjournals.org/care/issue/44/Supplement_1
คณะทำงานจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย, สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2560 [สืบค้นเมื่อ 27 ม.ค. 2565]. สืบค้นจาก: https://w1.med.cmu.ac.th/family/knowledge/for-doctor/guideline/2823
ศ.พญ.ธนินี สหกิจรุ่งเรือง. ร้อยปีแห่งการค้นพบ “อินซูลิน” นวัตกรรมเพื่อผู้ป่วยเบาหวานจากอดีตสู่อนาคต [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี; 2564 [สืบค้นเมื่อ 27 ม.ค. 2565]. สืบค้นจาก: https://www.dmthai.org/old/attachments/article/1072/dmbook2564.pdf
คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ. บัญชียาหลักแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กลุ่มนโยบายแห่งชาติด้านยา กองยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2565 [สืบค้นเมื่อ 14 พ.ย. 2565]. สืบค้นจาก: http://ndi.fda.moph.go.th/drug_national/drugs
อัญชลี สินเจริญมณี. การเปรียบเทียบต้นทุนและผลลัพธ์ระหว่างการใช้ปากกาและเข็มฉีดยาในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับอินซูลิน ณ โรงพยาบาลนครชัยศรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2548:119 หน้า.
รุ่งโรจน์ ใบมาก. การวิเคราะห์ต้นทุน-ผลได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีจากการใช้ยาฉีดอินซูลินชนิดธรรมดากับชนิดปากกาในโรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. 2554;7(2):25-36.
Singh R, Samuel C, Jacob JJ. A comparison of insulin pen devices and disposable plastic syringes–simplicity, safety, convenience and cost differences. Eur Endocrinol. 2018;14(1):47–51.
เพรียวพันธุ์ อุสาย, นิรมล เมืองโสม, ประยูร โกวิทย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ขึ้นทะเบียนรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลบ้านไผ่จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2555;5(3):11-20.
อุสา พุทธรักษ์, เสาวนันท์ บําเรอราช. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก้างปลา จังหวัดเลย. การจัดประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 34; วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม 2558; ณ อาคารเรียนรวม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น: 2558 [สืบค้นเมื่อ 13 พ.ย. 2565]. สืบค้นจาก: https://gsbooks.gs.kku.ac.th/58/the34th/pdf/MMP11.pdf
พนิดา เซี่ยงจ๊ง, ธนัช กนกเทศ, ปัทมา สุพรรณกุล. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2557;8(3):30-8.
Songmuang T, Songmuang A. Pharmaceutical care monitoring in outpatients with drug related problems, before and after developing a computerized program. Proceeding of the 16th Asian Conference on Clinical Pharmacy; 2016 July 14–18; Seoul, Republic of Korea: 2016.
โรงพยาบาลวารินชำราบ กลุ่มงานเภสัชกรรม. บัญชียาโรงพยาบาลวารินชำราบ ปีงบประมาณ 2565. อุบลราชธานี: กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลวารินชำราบ; 2564.
กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ. ตัวชี้วัดเพื่อกำกับติดตามคุณภาพบริการการดำเนินงานด้านโรคไม่ติดต่อ (โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง) ประจำปีงบประมาณ 2565 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2565 [สืบค้นเมื่อ 19 พ.ย. 2565]. สืบค้นจาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1186620211005081047.pdf
Frid AH, Hirsch LJ, Menchior AR, Morel DR, Strauss KW. Worldwide injection technique questionnaire study: injecting complications and the role of the professional. Mayo Clin Proc. 2016;91(9):1224-30.
Olmo EZ, Vlacho B, Fernandez LJ, Fernandez AMU, Gutierrez IL, Ugena JA, et al. Safety of the reuse of needles for subcutaneous insulin injection: a systematic review and meta-analysis. Int J Nurs Stud. 2016;60:121-32.
Barola A, Tiwari P, Bhansali A, Grover S, Dayal D. Insulin-related lipohypertrophy: lipogenic action or tissue trauma? Front Endocrinol (Lausanne). 2018;9:638. doi:10.3389/fendo.2018.00638.
Novo nordisk. Novopen4 user guide [Internet]. 2019 [cited 2022 Nov 19]. Available from: https://www.novonordisk.com/content/dam/nncorp/global/en/our-products/pdf/instructions-for-use/novopen-4/Novopen4-UK.pdf
Khan N. Insulin prices: pumps, pens, syringes, and more [Internet]. Healthline. 2020 [cited 2022 Jan 25]. Available from: https://www.healthline.com/health/type-2-diabetes/insulin-prices-pumps-pens-syringes
ไบรอัน ลี. Oral hypoglycemic agents and insulin initiation in T2 DM [Internet]. 2016 [cited 2022 Nov 19]. Available from: http://med.swu.ac.th/internalmed/images/documents/lectures/endocrine/brian/handout/oral%20hypoglycemic%20agents%20and%20insulin%20initiation%20in%20t2%20dm.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ