ภาวะพิษจากแมงดาทะเล
คำสำคัญ:
แมงดาทะเล, เตโตรโดทอกซินบทคัดย่อ
แมงดาทะเล สามารถพบได้ในประเทศไทยบริเวณอ่าวไทยทั้ง 2 ฝั่ง คืออ่าวไทยฝั่งตะวันตกและอ่าวไทยฝั่งตะวันออก แมงดาทะเลที่พบในประเทศไทย มี 2 ชนิด คือ แมงดาถ้วย (Carcinosecorpius rotundicauda) และแมงดาจาน (Tachypleus gigas) ทั้งนี้แมงดาทะเลที่เกิดพิษเมื่อรับประทาน คือแมงดาถ้วย ซึ่งมีลักษณะหางกลมและลำตัวใหญ่กว่าแมงดาจาน สารพิษที่พบในแมงดาถ้วย คือ เตโตรโดทอกซิน ซึ่งสารดังกล่าวออกฤทธิ์ยับยั้ง sodium channel ของเซลล์ประสาท ทำให้เกิดอาการ อ่อนแรง วิงเวียนศีรษะ ชาตามใบหน้าและแขนขา กล้ามเนื้อกระตุก ระดับความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นช้า กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก และการเกิดภาวะหยุดหายใจ อาการเกิดขึ้นภายใน 5 นาที ถึง 3 ชั่วโมง โดยปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของอาการได้แก่ ชนิดและแหล่งที่อยู่ของแมงดาทะเล ส่วนที่รับประทาน ปริมาณที่รับประทาน ฤดูกาล ในปัจจุบันภาวะพิษจากแมงดาทะเลยังไม่มีการรักษาที่จำเพาะ การรักษาหลัก คือการรักษาแบบประคับคอง เน้นการดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจ การป้องกันภาวะพิษจากการรับประทานแมงดาทะเลที่สำคัญคือการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปในการจำแนกชนิดของแมงดาทะเล และอาการความเป็นพิษที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้ถึงอันตรายที่เกิดขึ้นและระมัดระวังในการรับประทานแมงดาทะเลมากขึ้น
References
สุรินทร์ มัจฉาชีพ. เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสัตว์ทะเล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แพร่พิทยา; 2540. หน้า 57-60.
ชรินทร์ หวังโรจนรัตน์. พิษจากแมงดาทะเล: รายงานผู้ป่วย 2 ราย. วารสารการแพทย์เขต 7. 2540;2:177-84.
Trishnananda M, Tuchinda C, Yipinsoi T, Oonsombat P. Poisoning following the ingestion of the horseshoe crab (Carcinoscorpius rotundicauda): report of four cases in Thailand. J Trop Med Hyg. 1966;69(9):194-6. PMID: 5918697.
Joob B, Wiwanitkit V. Death rate due to horseshoe crab poisoning: summarization on Thai reports. J Coast Life Med. 2015;3(6):503-4. DOI:10.12980/JCLM.3.2015JCLM-2014-0086
สุรินทร์ มัจฉาชีพ. สัตว์ชายฝั่งทะเลไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แพร่พิทยา; 2547. หน้า 98-102.
บพิธ จารุพันธ์, นันทพร จารุพันธ์. สัตววิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2544. หน้า 218-20.
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. แมงดาถ้วยมีพิษ! บริโภคผิดฤทธิ์ถึงตาย [อินเทอร์เน็ต]. ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.); 2563 [สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2565]. สืบค้นจาก: https://www.nstda.or.th/home/news_post/horseshoecrab/
บพิธ จารุพันธ์, นันทพร จารุพันธ์. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง II แอนเนลิดา ถึง โพรโทคอร์ดาทา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2546. หน้า 307-14.
Kanchanapongkul J, Kungsuwan A, Tantisiriwan V, Punthawangkun C, Krittayapoositpot P. An outbreak of horseshoe crab poisoning in Chon Buri, Thailand: clinical, toxicologic and therapeutic considerations. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 1996;27(4):806-9. PMID: 9253889.
ขจรยุทธ บางท่าไม้, หิรัญวุฒิ แพร่คุณธรรม, จุฑาทิพย์ มูลเจริญ, วินัย วนานุกูล, ฐิติพล เยาวลักษณ์, พรชัย สิทธิศรัณย์กุล. ระบาดวิทยาเชิงพรรณนาของการได้รับพิษจากการรับประทานแมงดาทะเลระหว่างปี พ.ศ. 2554 – 2563. วารสารแพทย์นาวี. 2565;49(3):500-15.
POISINDEX® System. Tetrodotoxin. In: Merative Micromedex® Web Applications Access [Database on the internet]. Ann Arbor, Michigan: Merative US L.P.; 2023 [cited 2022 Mar 31]. Available from: http://www.micromedexsolutions.com (Subscription required to view)
Marcus EN. Overview of shellfish, pufferfish, and other marine toxin poisoning. In: UpToDate [Internet]. Waltham (MA): UpToDate, Inc.; 2022 [cited 2022 Mar 31]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/overview-of-shellfish-pufferfish-and-other-marine-toxin-poisoning
Kim-Katz S. Food poisoning: fish and shellfish. In: Olson KR, editor. Poisoning & drug overdose. 7th ed. San Francisco: McGraw-Hill; 2018. p. 219-22.
วินัย วนานุกูล. โรคพิษจากสารเตโตรโดทอกซิน (tetrodotoxin poisoning) [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพทางเคมี กรมประมง. 2558 [สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2566]. สืบค้นจาก: https://www.fisheries.go.th/mf-emdec/mainweb/puffer/tetrodotoxin.pdf
Katikou P, Gokbulut C, Kosker AR, Campàs M, Ozogul F. An updated review of tetrodotoxin and its peculiarities. Mar Drugs. 2022;20(1):47. doi: 10.3390/md20010047.
Suleiman M, Muhammad J, Jelip J, William T, Chua TH. An outbreak of tetrodotoxin poisoning from consuming horseshoe crabs in Sabah. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2017;48(1):197-203. PMID: 29644840.
Thim T, Krarup NH, Grove EL, Rohde CV, Løfgren B. Initial assessment and treatment with the airway, breathing, circulation, disability, exposure (ABCDE) approach. Int J Gen Med. 2012;5:117-21. doi: 10.2147/IJGM.S28478.
Tunik MG. Food poisoning. In: Hoffman RS, Howland MA, Lewin NA, Nelson LS, Goldfrank LR, editors. Goldfrank’s toxicologic emergencies. 10th ed. New York: McGraw-Hill Education; 2019. p. 586-97.
กรมประมง. กรมประมง...ย้ำเตือนประชาชน ระวัง !! กิน “แมงดาทะเล” ผิดชนิดอาจได้รับพิษร้ายถึงตายได้ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2564 [สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2565]. สืบค้นจาก: https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/view_activities/1210/88780
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ