ผลของการพัฒนาระบบการปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีภาวะไตบกพร่อง ต่อความเหมาะสมของการใช้ยาในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
การปรับขนาดยา, ภาวะไตบกพร่องบทคัดย่อ
ความเป็นมา ผู้ป่วยที่มีภาวะไตบกพร่องควรได้รับยาที่มีการปรับขนาดการใช้ยาที่เหมาะสม จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบการปรับขนาดการใช้ยาที่มีประสิทธิภาพดี เพื่อส่งเสริมการสั่งใช้ยาอย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะไตบกพร่องก่อนและหลังพัฒนาระบบการปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีภาวะไตบกพร่อง
วิธีวิจัย วิจัยกึ่งทดลองเปรียบเทียบก่อนและหลังพัฒนาระบบการปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีภาวะไตบกพร่องที่นอนรักษาในโรงพยาบาลตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2565 - 2 กันยายน 2565 และได้รับยาที่จำเป็นต้องปรับขนาดหรือพิจารณาความเหมาะสมอย่างน้อย 1 ครั้ง
ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 210 ตัวอย่าง แบ่งเป็นก่อนและหลังพัฒนาระบบอย่างละ 105 ตัวอย่าง พบว่า หลังการพัฒนาระบบการปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีภาวะไตบกพร่องทำให้การสั่งใช้ยาเหมาะสมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) จากร้อยละ 38.1 เป็นร้อยละ 59.0 โดยความเหมาะสมในการสั่งใช้ยาเพิ่มขึ้นเป็น 3.30 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับระบบเดิม การส่งปรึกษาแพทย์ของเภสัชกรเมื่อพบคำสั่งใช้ยาไม่เหมาะสม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40.0 เป็น ร้อยละ 95.3 และร้อยละการสั่งยาที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นในกลุ่มยาต้านจุลชีพ
สรุปผล ระบบการปรับขนาดยาที่พัฒนาขึ้นช่วยให้การสั่งใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะไตบกพร่องมีความเหมาะสมเพิ่มขึ้น
References
วรุณกาญจน์ ทุ่งสว่าง. การปรับขนาดยาต้านจุลชีพสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะไตบกพร่อง ณ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร. 2564;4(2):1-8.
ดาราพร รุ้งพราย. Delaying progression of chronic kidney disease. ใน:ดาราพร รุ้งพราย, วีรชัย ไชยจามร, อาทิตยา วงศาโรจน์, กมลวรรณ อ่อนละมัย, พรเพ็ญ ลือวิทวัศ, พีรดา วงษ์พิรา, บรรณาธิการ. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคไต สำหรับเภสัชกร 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประชาชน จำกัด; 2560. หน้า 113-36.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. ข้อมูลการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย พ.ศ. 2563 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2565]; สืบค้นจาก: https://www.nephrothai.org/wp-content/uploads/2022/06/Final-TRT-report-2020.pdf
ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์, เกรียง ตั้งสง่า. Acute kidney injury. ใน:ดาราพร รุ้งพราย, วีรชัย ไชยจามร, อาทิตยา วงศาโรจน์, กมลวรรณ อ่อนละมัย, พรเพ็ญ ลือวิทวัศ, พีรดา วงษ์พิรา, บรรณาธิการ. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคไต สำหรับเภสัชกร 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประชาชน จำกัด; 2560. หน้า 69-79.
วิทยา ศิริชีพชัยยันต์. อุบัติการณ์และสาเหตุของภาวะไตวายฉับพลัน ในผู้ป่วยที่นอนรักษาในแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2564;17(2):51-60.
สิริวรรณ นาควรรณ. อุบัติการณ์ ปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบของภาวะไตวายเฉียบพลัน ในคนไข้หอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารแพทย์ เขต 4-5. 2563;39(4):656-67.
อติพล คล้ายปักษี, อัษฎางค์ พลนอก. ผลของระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิกด้วยคอมพิวเตอร์ต่อการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2563;12(2):437-51.
วินัดดา ชุตินารา, เสาวภา ทองส่องแสง, ศรินธร ขันธหัตถ์. การติดตามและการปรับขนาดยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 2555;22(2):96-105.
วีรชัย ไชยจามร. Antimicrobial dosing adjustment in patients with reduced renal function. ใน:ดาราพร รุ้งพราย, วีรชัย ไชยจามร, อาทิตยา วงศาโรจน์, กมลวรรณ อ่อนละมัย, พรเพ็ญ ลือวิทวัศ, พีรดา วงษ์พิรา, บรรณาธิการ. คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคไต สำหรับเภสัชกร 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทประชาชนจำกัด; 2560. หน้า 308-41.
Kellum JA, Lameire N, Aspelin P, Barsoum RS, Burdmann EA, Goldstein SL, et al. Kidney disease: improving global outcomes (KDIGO) acute kidney injury work group. KDIGO clinical practice guideline for acute kidney injury. Kidney Int Suppl. 2012;2(1):1-138.
ณัฎฐา ล้ำเลิศกุล, ณัฐชัย ศรีสวัสดิ์. การฟื้นตัวของไตภายหลังภาวะไตวายเฉียบพลัน. วารสารเวชบำบัดวิกฤต. 2560;25(2):6-9.
David NG, Henry FC, Michael SS, Andrew TP. The Sanford guide to antimicrobial therapy. 50th ed. USA: Antimicrobial therapy, Inc; 2020.
Medscape Pharmacists. Medscape [Database on the internet]. New York: 2022 [cited 2022 July 8]. Available from: http://www.medscape.com. (Subscription required to view)
IBM Corporation. DRUGDEX [Database on the internet]. Greenwood Village, Colorado: IBM Corporation; 2022. [cited 2022 July 8]. Available from: https://www.micromedexsolutions.com.(Subscription required to view)
UpToDate. Lexi-Drug [Database on the internet]. Waltham (MA); 2022 [cited 2022 July 8]. Available from: https://www.uptodate.com/contents/search. (Subscription required to view)
ชัยรัตน์ ฉายากุล, พิสนธิ์ จงตระกูล, วินัย วนานุกูล, พาขวัญ ปุณณุปูรต, เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์, กิติยศ ยศสมบัติ และคณะ. คู่มือการดำเนินงานโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (Rational Drug Use Hospital Manual). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.
อริสา แสงเพ็ง, กฤษณี สระมุณี, วนรัตน์ อนุสรเสงี่ยม. การพัฒนาระบบปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะไตบกพร่อง ณ แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2560; 9(1): 280-91.
Such Diaz A, Saez de la Fuente J,Esteva L, Alanon Pardo AM, Barrueco N, Esteban C, et al. Drug prescribing in patients with renal impairment optimized by a computer-based, semi-automated system. Int J Clin Pharm. 2013;35(6):1170-7.
Terrel KM, Perkins AJ, Hui SL, Callahan CM, Dexter PR, Miller DK. Computerized decision support for medication dosing in renal insufficiency: a randomized, controlled trial. Ann Emerg Med. 2010;56(6):623-9.
ชัยสิน เลาหะวีร์. ค่าใช้จ่ายในการใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่มเบต้าแลคแตม ที่ไม่เหมาะสมและการแก้ไขปัญหาในผู้ป่วยไตบกพร่อง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2549.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ