Daridorexant: ทางเลือกใหม่สำหรับโรคนอนไม่หลับ
คำสำคัญ:
daridorexant, dual orexin receptor antagonist, โรคนอนไม่หลับบทคัดย่อ
Daridorexant เป็นยาลำดับที่ 3 ในกลุ่ม selective dual orexin receptor antagonist ถัดจากยา suvorexant และ lemborexant โดย daridorexant ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกาในวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2565 และจากองค์การยาแห่งสหภาพยุโรปในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2565 ให้เป็นยาสำหรับการรักษาโรคนอนไม่หลับในผู้ป่วยที่เริ่มหลับยากหรือไม่สามารถนอนหลับได้นาน ยาออกฤทธิ์โดยไปยับยั้ง orexin A และ orexin B ในการจับกับ orexin type 1 receptor และ orexin type 2 receptor ทำให้สามารถนอนหลับได้ดีขึ้นโดยลดเวลาในการเข้าสู่การหลับและลดการตื่นในช่วงของการนอนหลับ จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบพบว่า ในผู้ป่วยทั้งผู้ใหญ่และผู้สูงอายุสามารถทนต่อยาได้ดีและยามีข้อมูลความปลอดภัยสูง รวมทั้งยายังมีประสิทธิภาพในการช่วยทำให้หลับได้ในผู้ป่วยที่นอนไม่หลับโดยยังคงรักษาโครงสร้างของการนอนได้และไม่ส่งผลกระทบต่อการทำกิจกรรมระหว่างวันในเช้าวันถัดมาหลังจากรับประทานยา จากที่กล่าวมาจึงทำให้ daridorexant มีความแตกต่างจากยานอนหลับกลุ่มอื่นๆ เช่น benzodiazepines, tricyclic antidepressant และ antihistamines
References
ธิติมา ณรงค์ศักดิ์, ฐิติมา สงวนวิชัยกุล, วงพงศ์ ตรีสิทธิวนิช. การนอนหลับและสุขอนามัยการนอนหลับ. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2563;14(2):69-85.
Schutte-Rodin S, Broch L, Buysse D, Dorsey C, Sateia M. Clinical guideline for the evaluation and management of chronic insomnia in adults. J Clin Sleep Med. 2008;4(5):487-504.
Edinger JD, Means MK. Cognitive-behavioral therapy for primary insomnia. Clin Psychol Rev. 2005;25(5):539-58.
Merck Sharp & Dohme LLC. BELSOMRA [Prescribing information]. Rahway, NJ: Merck & Co., Inc.; 2022 [cited 2022 Oct 12]. Available from: https://www.merck.com/product/usa/pi_circulars/b/belsomra/belsomra_pi.pdf
Eisai Inc. DAYVIGO [Prescribing information]. Nutley, NJ: Eisai Inc.; 2022 [cited 2022 Oct 12]. Available from: https://www.dayvigo.com/-/media/Files/DAYVIGO/PDF/prescribing-information.pdf
Idorsia Pharmaceuticals US Inc. QUVIVIQ [Prescribing information]. Radnor, PA: Idorsia Pharmaceuticals US Inc.; 2022 [cited 2022 Oct 12]. Available from: https://www.idorsia.us/documents/us/label/Quviviq_PI.pdf
European Medicines Agency (EMA). Assessment report for Quviviq. International non-proprietary name: daridorexant. Procedure No. EMEA/H/C/005634/0000 [Internet]. Amsterdam: EMA; updated 2022 [cited 2022 Oct 12]. Available from: https://www.ema.europa.eu/en/documents/assessment-report/quviviq-epar-public-assessment-report_en.pdf
Sakurai T, Amemiya A, Ishii M, Matsuzaki I, Chemelli RM, Tanaka H, et al. Orexins and orexin receptors: a family of hypothalamic neuropeptides and G protein-coupled receptors that regulate feeding behavior. Cell. 1998;92(4):573-85.
De Lecea L, Kilduff TS, Peyron C, Gao X, Foye PE, Danielson PE, et al. The hypocretins: hypothalamus-specific peptides with neuroexcitatory activity. Proc Natl Acad Sci USA. 1998;95(1):322-7.
Khouzam HR, Jackson S. Orexin receptor antagonist: alternative treatment of primary insomnia. J Neurol Neurorehabilit Res. 2022;4(2):16-9.
Stahl SM. Mechanism of action of suvorexant. CNS Spectr. 2016;21(3):215-8.
Treiber A, de Kanter R, Roch C, Gatfield J, Boss C, von Raumer M, et al. The use of physiology-based pharmacokinetic and pharmacodynamic modeling in the discovery of the dual orexin receptor antagonist ACT-541468. J Pharmacol Exp Ther. 2017;362(3):489-503.
Mignot E, Mayleben D, Fietze I, Leger D, Zammit G, Bassetti CLA, et al. Safety and efficacy of daridorexant in patients with insomnia disorder: results from two multicentre, randomised, double-blind, placebo-controlled, phase 3 trials. Lancet Neurol. 2022;21(2):125-39.
Ufer M, Kelsh D, Schoedel KA, Dingemanse J. Abuse potential assessment of the new dual orexin receptor antagonist daridorexant in recreational sedative drug users as compared to suvorexant and zolpidem. Sleep. 2022;45(3):zsab224. doi: 10.1093/sleep/zsab224.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ