การสำรวจงานบริบาลทางเภสัชกรรมในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ของภาครัฐ

ผู้แต่ง

  • มนทยา สุนันทิวัฒน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สมหญิง พุ่มทอง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • เทพนคร แสนเขื่อน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุมัทนา สังซา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พัชรี ดวงจันทร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

งานบริบาลทางเภสัชกรรม, งานบริการเภสัชกรรม, เภสัชกรรมโรงพยาบาล, โรงพยาบาลขนาดใหญ่, โรงพยาบาลรัฐ

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การดำเนินงานบริบาลทางเภสัชกรรมในโรงพยาบาลแตกต่างกันขึ้นกับศักยภาพและบริบทของโรงพยาบาล

วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจกิจกรรมและลักษณะงานบริบาลทางเภสัชกรรมในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ของภาครัฐ

วิธีวิจัย: สำรวจแบบภาคตัดขวางในกลุ่มโรงพยาบาลขนาดใหญ่ (≥ 150 เตียง) ของภาครัฐ ในประเทศไทย จำนวน 194 แห่ง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 ถึง กุมภาพันธ์ 2564 โดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิธีการทดสอบไคสแควร์

ผลการวิจัย: อัตราตอบกลับของแบบสอบถาม ร้อยละ 47.42 สองในสามเป็นโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กิจกรรมที่มีการดำเนินงานมากที่สุด คือ การประสานรายการยา ซึ่งทำในโรงพยาบาลเกือบทุกแห่ง (ร้อยละ 98.91) รองลงมาคือ การให้ข้อมูลด้านยาแก่สหวิชาชีพ และ การวิเคราะห์ปัญหาการใช้ยาที่พบ (ร้อยละ 95.65 เท่ากัน) ในขณะที่การประสานและส่งต่อปัญหาการใช้ยาที่พบในโรงพยาบาล ไปยังเภสัชกรที่รับผิดชอบงานปฐมภูมิ และการติดตามระดับยาในเลือด มีการปฏิบัติน้อยที่สุด (ร้อยละ 65.22 และ 34.78 ตามลำดับ) การมีกิจกรรมบริบาลทางเภสัชกรรม เช่น การติดตามระดับยาในเลือด มีความสัมพันธ์กับระดับของโรงพยาบาล

สรุปผล: โรงพยาบาลขนาดใหญ่ของภาครัฐ ส่วนใหญ่ดำเนินงานบริบาลทางเภสัชกรรมพื้นฐานที่จำเป็น ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขและมาตรฐานวิชาชีพที่กำหนด

Author Biographies

มนทยา สุนันทิวัฒน์, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภ.บ., วท.ม. (เภสัชกรรมโรงพยาบาล), ปร.ด. (สังคมการแพทย์และสาธารณสุข)

สมหญิง พุ่มทอง, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ภ.บ., วท.ม. (บริหารเภสัชกิจ), ปร.ด. (เภสัชศาสตร์)

เทพนคร แสนเขื่อน, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

นักศึกษาเภสัชศาสตร์

สุมัทนา สังซา, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

นักศึกษาเภสัชศาสตร์

พัชรี ดวงจันทร์, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภ.บ., วท.ม. (เภสัชกรรมโรงพยาบาล), ปร.ด. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์)

References

Hepler CD, Strand LM. Opportunities and responsibilities in pharmaceutical care. Am J Hosp Pharm. 1990;47:533-43.

Allemann SS, van Mil FJW, Botermann L, Berger , Griese N, Hersberger KE. Pharmaceutical care: the PCNE definition 2013. Int J Clin Pharm. 2014;36(3):544-55.

ธีราพร สุภาพันธุ์, จุฬาทิพ อมรเพชรสถาพร, ณัฐชา จันทรศิริ, ณัฐพล ขําอิง, พิพัฒน์ จันทะพิมพ์, ภาณุพงศ์ ชมพูพื้น และคณะ. การทบทวนวรรณกรรม: การวัดผลลัพธ์ของการบริบาลทางเภสัชกรรมในโรงพยาบาลในประเทศไทย. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2564;17(4):1-29

ศิริตรี สุทธจิตต์, พักตร์วิภา วรรณพรหม, สุนทรา เอกอนันต์กุล. กำลังคิด กำลังคน: กำลังคนเภสัชกรในความซับซ้อนของระบบสุขภาพ. เชียงใหม่: ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบยาชุมชน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2561.

นิลวรรณ อยู่ภักดี, พิศาลสิทธิ์ ธนวุฒิ. การสำรวจกิจกรรมของเภสัชกรที่ปฏิบัติในสถานบริการสุขภาพในประเทศไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2559;25(4):723-33.

จันทนี ฉัตรวิริยาวงศ์, สุรพงษ์ ตุลาพันธุ์. ผลของกระบวนการประสานรายการยา ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2561;15(3):95-102.

กัญญามาส จีนอนันต์, อารีวรรณ เชี่ยวชาญวัฒนา, กรแก้ว จันทภาษา, ธิดา นิงสานนท์. การดำเนินงานการประสานรายการยากรณีผู้ป่วยในของโรงพยาบาลรัฐในเขตสุขภาพที่ 7 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2560;13(4):11-23.

นันทยา ประคองสาย, จันทิมา ศิริคัณทวานนท์, เกศกนก เรืองเดช, วิทยุต นามศิริพงศ์พันธุ์. ประสิทธิผลของการประเมินการใช้ยา piperacillin-tazobactam โรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2556;30(1):6-23.

พาณี อรรถเมธากุล. การประเมินการสั่งใช้ยา cefoperazone/sulbactam ในโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2014;6(2):77-83.

รัชฎาพร สุนทรภาส, เชิดชัย สุนทรภาส. การประเมินความสมเหตุผลของการใช้ยารักษาโรคกระดูกพรุน ณ โรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. 2561;14 (2):947-55.

วรวรรณ ปลิโพธ, กวีศักดิ์ จิตตวัฒนรัตน์, ชิดชนก เรือนก้อน, อรุณรัตน์ ลักษณ์ศิริ. ผลของโปรแกรม ควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2558;10(2):59-66.

นวรัตน์ เจตนานนท์. การทบทวนการใช้ยาในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบเก๊าต์ ณ โรงพยาบาลตะกั่วทุ่ง. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2559;30(3):115-28.

อมราพักตร์ สารกุล, อรอนงค์ วลีขจรเลิศ, ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช. สถานการณ์การดำเนินงานบริบาลเภสัชกรรมโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสุรินทร์. วารสารเภสัชศาสต์อีสาน. 2560;13:417-28.

กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. หลักเกณฑ์การจัดตั้งและการปรับระดับศักยภาพของหน่วยบริการสุขภาพ. นนทบุรี: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2561.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ก.การพิมพ์เทียนกวง; 2565.

เกวลิน ชื่นเจริญ และคณะ. แผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (service plan) พ.ศ. ๒๕๖๑ - ๒๕๖๕. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2559.

สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย). มาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล พ.ศ. ๒๕๖๑ - พ.ศ. ๒๕๖๕. กรุงเทพฯ: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2561.

ธิดา นิงสานนท์ และคณะ. กรอบงานพื้นฐานระบบยา. กรุงเทพฯ: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2563.

สุปรีดา นนทวงศ์, ชุติปภา แม่นยำ, เชาวรัตน์ มั่นพรหม. ปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลสระบุรีโดยกระบวนการ medication reconciliation. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2555;21(5):1005-11.

ศิริรัตน์ ไสไทย, โพยม วงศ์ภูวรักษ์. ผลของกระบวนการสร้างความสอดคล้องต่อเนื่องทางยาในหอผู้ป่วยอายรุกรรมหญิง โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง. วารสารเภัชกรรมไทย. 2556;5(1):2-15.

เพียงเพ็ญ ชนาเทพาพร, ศมน อนุตรชัชวาลย์, เพียงขวัญ นครรัตนชัย. การพัฒนาระบบการประสานรายการยาบนหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2557;29(3):276-82.

คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๕. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 182 ง หน้า 11 (ลงวันที่ 5 สิงหาคม 2565).

ธนัฎชา สองเมือง, อนัญญา สองเมือง. โปรแกรมคอมพิวเตอร์บันทึกแจ้งเตือนรายการยาที่ผู้ป่วยมีประวัติอาการไม่พึงประสงค์ ในงานบริการเภสัชกรรม. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564;30(4):734-42.

กนกวรรณ พรหมพันใจ, ธงชัย ทองคลองไทร, รังสิกานต์ นาคบุรินทร์, ชานนท์ งามถิ่น. การพัฒนาระบบค้นหาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาโดยใช้ตัวส่งสัญญาณระหว่างผู้ป่วยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล. เภสัชกรรมคลินิก. 2560;23(2):10-9.

Cai M, Zhou L, Gao D, Mei D, Zhang B, Zuo W, et al. A national survey of individualized pharmaceutical care practice in Chinese hospitals in 2019. Front Pharmacol. 2023;14:1022134. doi: 10.3389/fphar.2023.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2023