ปัจจัยเสี่ยงของความเป็นพิษต่อไตในผู้ป่วยที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ไดโซพรอกซิลฟูมาเรท ณ โรงพยาบาลตติยภูมิขั้นสูง

ผู้แต่ง

  • เชิดชัย สุนทรภาส คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ภิรุญ มุตสิกพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รัชฎาพร สุนทรภาส ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์

คำสำคัญ:

ความเป็นพิษต่อไตจากยา, ทีโนโฟเวียร์

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: ทีโนโฟเวียร์ไดโซพรอกซิลฟูมาเรท (tenofovir disoproxil fumarate; TDF) เป็นยาลำดับแรกในสูตรยารักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และ/หรือตับอักเสบบีเรื้อรัง เนื่องจากมีประสิทธิภาพดี มีการดื้อยาต่ำ และบริหารยาวันละครั้ง แต่ยาอาจก่อให้เกิดพิษต่อไต ดังนั้นหากทราบปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดพิษต่อไตจาก TDF จะช่วยในการวางแผนป้องกันหรือติดตามผู้ป่วยที่อาจเกิดพิษต่อไต

วัตถุประสงค์: เพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดพิษต่อไตจาก TDF

วิธีวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยที่ได้รับ TDF ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลตติยภูมิขั้นสูง ระหว่างปี พ.ศ. 2561-2563 เก็บข้อมูลจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ยาที่ผู้ป่วยได้รับ และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยประเมินความเป็นพิษต่อไตจากค่าการทำงานของไตที่ลดลงหรือการเกิดแฟนโคไนซินโดรม และวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดพิษต่อไตจากยาโดยใช้สถิติถดถอยโลจิสติกส์

ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษามีจำนวน 320 ราย อายุเฉลี่ย 43.5 + 12.6 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 62.5) ป่วยด้วยเอชไอวี (ร้อยละ 78.4) และใช้ยามานานกว่า 2 ปี (ร้อยละ 84.7) พบผู้ป่วยเกิดพิษต่อไต 26 ราย (ร้อยละ 8.1) ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดพิษต่อไต ได้แก่ อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และการได้รับยายับยั้งโปรตีเอส

สรุปผล: มีผู้ป่วยส่วนน้อยที่เกิดพิษต่อไตหลังการใช้ TDF โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดพิษต่อไต 2 ปัจจัย ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังและติดตามการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปและผู้ป่วยที่ได้รับยายับยั้งโปรตีเอสอย่างใกล้ชิด

Author Biographies

เชิดชัย สุนทรภาส, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภ.บ., ปร.ด. (เภสัชศาสตร์ชีวภาพ)

ภิรุญ มุตสิกพันธ์, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

พ.บ., ว.ว. (อายุรศาสตร์ทั่วไป)

รัชฎาพร สุนทรภาส, ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์

ภ.บ., ภ.ม. (เภสัชกรรมคลินิก)

References

Wassner C, Bradley N, Lee Y. A review and clinical understanding of tenofovir: tenofovir disoproxil fumarate versus tenofovir alafenamide. J Int Assoc Provid AIDS Care. 2020;19:2325958220919231. doi: 10.1177/2325958220919231.

World Health Organization. Antiretroviral therapy for HIV infection in adults and adolescents: recommendations for a public health approach - 2010 revision [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2010 [cited 2020 Oct 1]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK138540/pdf/Bookshelf_NBK138540.pdf

World Health Organization. Consolidated guidelines on HIV prevention, testing, treatment, service delivery and monitoring: recommendations for a public health approach. [Internet]. Geneva: World Health Organization; 2021 [cited 2020 Oct 1]. Available from: https://apps.who.int/iris/rest/bitstreams/1357089/retrieve

Ayoub WS, Keeffe EB. Review article: current antiviral therapy of chronic hepatitis B. Aliment Pharmacol Ther. 2011;34(10):1145-58. doi: 10.1111/j.1365-2036.2011.04869.x.

Terrault NA, Lok ASF, McMahon BJ, Chang KM, Hwang JP, Jonas MM, et al. Update on prevention, diagnosis, and treatment of chronic hepatitis B: AASLD 2018 hepatitis B guidance. Hepatology. 2018; 67(4): 1560-99. doi: 10.1002/hep.29800.

Fernandez-Fernandez B, Montoya-Ferrer A, Sanz AB, Sanchez-Niño MD, Izquierdo MC, Poveda J, et al. Tenofovir nephrotoxicity: 2011 update. AIDS Res Treat. 2011;2011:354908. doi: 10.1155/2011/354908.

Quinn KJ, Emerson CR, Dinsmore WW, Donnelly CM. Incidence of proximal renal tubular dysfunction in patients on tenofovir disoproxil fumarate. Int J STD AIDS. 2010;21(2):150-1. doi: 10.1258/ijsa.2009.009464.

เสาวนีย์ วิบุลสันติ, ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล, โอภาส พุทธเจริญ, รังสิมา โล่ห์เลขา, เอกจิตรา สุขกุล, บรรณาธิการ. แนวทางการตรวจวินิจฉัยรักษาและป้องกัน การติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2564/2565. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.

ปอแก้ว เพ็ชร์คำ, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์. อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจากการได้รับยา tenofovir ของผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2559;25(1):92–103.

สุนีย์ ชยางศุ. ผลของการทำงานของไตในผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับยาทีโนโฟเวียร์ติดตามเป็นเวลาสองปี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2560;32(1):1-11.

ชุลีกร ปรีชาวิบูลย์, ขวัญดาว ศิลาทอง, พนิดา อยู่เพ็ชร, น้ำทิพย์ จุติพงษ์, ณัฐฌลา ยอดสุรางค์. การศึกษาอาการอันไม่พึงประสงค์ต่อไตในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับยา tenofovir ร่วมกับ NNRTIs เทียบกับ tenofovir ร่วมกับ protease inhibitors ในโรงพยาบาลราชวิถี. วารสารกรมการแพทย์. 2557; 41(5): 91–8.

ดวงรัตน์ สุวรรณ, อัครวัฒน์ กรจิระเกษมศานติ์. อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ได้รับการรักษาด้วยยา tenofovir ในโรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์. 2563;11(2):168-79.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์. บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับประเทศไทย อังกฤษ-ไทย เวอร์ชั่น 2016 เล่มที่ 1 ตารางจัดกลุ่มโรค. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

วิศิษฎ์ ตันหยง, พีรยศ ภมรศิลปะธรรม, ฉัตชัย ฉิ่นไพศาล. ทีโนโฟเวียร์และพิษต่อไตระดับเซลล์. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 2561;22(2):248-59.

Koh HM, Suresh K. Tenofovir-induced nephrotoxicity: a retrospective cohort study. Med J Malaysia. 2016;71(6):308-12. PMID: 28087953.

Zheng S, Liu L, Lu J, Zhang X, Shen H, Zhang H, et al. Efficacy and safety of tenofovir disoproxil fumarate in Chinese patients with chronic hepatitis B virus infection: a 2-year prospective study. Medicine (Baltimore). 2019;98(42):e17590. doi: 10.1097/MD.0000000000017590.

Manosuthi W, Prasithsirikul W, Tantanathip P, Chimsuntorn S, Nilkamhang S, Sungkanuparph S. Renal impairment in HIV-1 infected patients receiving antiretroviral regimens including tenofovir in a resource-limited setting. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 2011;42(3):643-50. PMID: 21706942.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-08-2023