ความพึงพอใจต่อการจัดส่งยาทางไปรษณีย์และการกดไวรัสในกระแสเลือดของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

ผู้แต่ง

  • นิตยา ดาววงศ์ญาติ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

การจัดส่งยาทางไปรษณีย์, การกดไวรัสในกระแสเลือด, ผู้ติดเชื้อเอชไอวี, เชื้อโควิด -19

บทคัดย่อ

          ความเป็นมา: ช่วงปี พ.ศ. 2563 – 2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยมีความรุนแรง รัฐบาลจึงได้ประกาศใช้พระราชกำหนดในการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้การเดินทางของประชาชนถูกจำกัด โรงพยาบาลของผู้วิจัยจึงเปิดบริการจัดส่งยาทางไปรษณีย์เพื่อให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินทางมาโรงพยาบาลยังมียาใช้อย่างต่อเนื่อง

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความพึงพอใจและอัตราการกดไวรัสในกระแสเลือดของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่รับยาทางไปรษณีย์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

          วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยให้กลุ่มตัวอย่าง 236 รายที่ยังคงรับการรักษาโดยศูนย์องค์รวมช่วง 1 เมษายน 2563 – 30 เมษายน 2565 และได้รับยาทางไปรษณีย์นานอย่างน้อย 6 เดือน ทำแบบประเมินความพึงพอใจและติดตามดูผลไวรัสในกระแสเลือดเมื่อกลับมารับบริการในโรงพยาบาล

          ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการบริการในระดับมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 94.40 โดยพึงพอใจมากที่สุดคือการส่งยาทางไปรษณีย์ช่วยให้ไม่ขาดยาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และถึงแม้ระยะเวลาเฉลี่ยที่ไม่ได้มาโรงพยาบาลนาน 9.31 ± 3.19 เดือน แต่ร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่มีปริมาณไวรัสในกระแสเลือดไม่เกิน 50 ก๊อปปี้/มิลลิลิตรมีสูงถึงร้อยละ 98.31

สรุปผล: การจัดส่งยาทางไปรษณีย์เป็นบริการที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีความพึงพอใจในระดับสูงมาก และแม้ไม่ได้มารับบริการในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน ผู้ติดเชื้อเอชไอวียังสามารถกดไวรัสเอชไอวีในกระเลือดได้

Author Biography

นิตยา ดาววงศ์ญาติ, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ภ.บ., ภ.ม. (เภสัชกรรมคลินิกและการบริหาร)

References

Sohrabi C, Alasfi Z, O’Neill N, Khan M, Kerwan A, Al-Jabir A, et al. World Health Organization declares global emergency: a review of the 2019 novel coronavirus (COVID-19). Int J Surg. 2020;76:71-6. doi: 10.1016/j.ijsu.2020.02.034.

Ahmed F, Zviedrite N, Uzicanin A. Effectiveness of workplace social distancing measure in reducing influenza transmission: a systematic review. BMC Public Health.2018;18(1):518. doi: 10.1186/s12889-018-5446-1.

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 [สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2563]. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 69 ง (ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2563 ). สืบค้นจาก: http://web.krisdika.go.th/data/slideshow/File/02-Thai.pdf

สุเมธ องค์วรรณดี, ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล, อัญชลี อวิหิงสานนท์, เอกจิตรา สุขกุล, รังสิมา โล่เลขา. แนวทางการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ระดับชาติ ปี พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.

Ridgway JP, Friedman EE, Choe J, Nguyen CT, Schuble T, Pettit NN. Impact of mail order pharmacy use and travel time to pharmacy on viral suppression among people living with HIV. AIDS Care. 2020;32(11):1372-8. doi: 10.1080/09540121.2020.1757019.

Choe J, Nguyen C, Pettit NN, Ridgway JP. Impact of mail order pharmacy use on viral suppression among HIV-infected patients. Open Forum Infect Dis. 2018;5(Suppl 1): S547. doi: 10.1093/ofid/ofy210.1560.

Pham N, Lewis S, Avery A. Impact of pharmacy proximity and delivery services on HIV viral suppression among low income urban patients. AIDS Behav. 2018;22(3):1025-9. doi: 10.1007/s10461-017-1823-5.

รวิวรรณ วิทวัสสำราญกุล. การประเมินรูปแบบการส่งยาทางไปรษณีย์สำหรับผู้ป่วยนอกด้วยโรคเรื้อรัง ณ โรงพยาบาลเลิดสิน [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. 2546.

ปรียา ยุคันตวนิชชัย. ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่รับยาทางไปรษณีย์ของโรงพยาบาลอุดรธานี [อินเทอร์เน็ต]. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2564 [สืบค้นเมื่อ 16 เม.ย. 2565];5(10):99-114. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/AJMP/article/view/11238/9757

ฝ่ายเภสัชกรรมและฝ่ายสารสนเทศ โรงพยาบาลศิริราช. ศิริราชก้าวไกล ส่งยาทั่วไทย ทางไปรษณีย [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 2558 [สืบค้นเมื่อ 16 เม.ย. 2565]. สืบค้นจาก: https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/um/admin/download_files/230_48_1gbXlaZ.pdf

ปิยะวัฒน์ รัตนพันธุ์, สิรินยา สุริยา, ประดับ เพ็ชรจรูญ. การพัฒนาระบบจัดส่งยาทางไปรษณีย์สำหรับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 [อินเทอร์เน็ต]. เชียงรายเวชสาร. 2563 [สืบค้นเมื่อ 16 เม.ย. 2565];12(2):48-66. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/crmjournal/article/view/244459/166845

Aphiphatkan N, Thanritthaweeporn K, Wonginyoo K, Saenprasert S. The development in effectiveness of telemedicine in new normal trend of pharmacy unit of dental hospital, Faculty of Dentist, Khon Kaen University during the pandemic of COVID-19. The 13th NPRU National Academic Conference; 2021 July 8-9; Nakhon Pathom Rajabhat University. Nakhon Pathom: 2021. p. 1422-32.

Sumrankong P. Cost – effectiveness analysis of pharmacy mail–order service compared with outpatient department service for schizophrenic patients at Suanprung hospital, Chiang Mai province. Bulletin of Suanprung. 2013;29(1):47-59.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี; 2543.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น; 2545.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-08-2023