ปัญหาด้านยาในผู้ป่วยรับการดูแลแบบประคับประคองที่ใช้กัญชาทางการแพทย์ที่บ้าน
คำสำคัญ:
ปัญหาด้านยา, กัญชา, เยี่ยมบ้าน, เภสัชกรบทคัดย่อ
ความเป็นมา: ในประเทศไทยยังไม่พบการศึกษาปัญหาด้านยา (drug-related problems; DRPs) จากการเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยรับการดูแลแบบประคับประคองที่ใช้กัญชาทางการแพทย์
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาจำนวน ประเภท ความรุนแรง และสาเหตุของ DRPs ตลอดจนวิธีการแก้ไข การยอมรับการแก้ไข และผลลัพธ์ของการแก้ไข DRPs ในผู้ป่วยรับการดูแลแบบประคับประคองที่มีการใช้กัญชาทางการแพทย์ที่บ้าน
วิธีวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาเก็บข้อมูลแบบย้อนหลัง ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2564 จากแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ประเมิน DRPs ตามแบบประเมินของ Pharmaceutical Care Network Europe (PCNE) Version 8.02 แบ่งระดับความรุนแรงของปัญหาตาม NCC MERP index วิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย: ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 12 ราย อายุเฉลี่ย 60.0 ± 11.1 ปี มีการใช้สารสกัด THC จำนวน 11 ราย ร้อยละ 91.7 และตำรับทำลายพระสุเมรุ 1 ราย ร้อยละ 8.3 ได้รับการเยี่ยมบ้านเฉลี่ยคนละ 1.8 ± 0.4 ครั้ง มี DRPs 24 ครั้ง ในผู้ป่วย 10 ราย ร้อยละ 83.3 และ DRPs ที่พบมากที่สุดคือ อาการไม่พึงประสงค์จากกัญชา ร้อยละ 70.8 ความรุนแรงของ DRPs อยู่ในระดับ D ร้อยละ 83.3 สาเหตุของ DRPs เกิดจากตัวผู้ป่วย ร้อยละ 44.0 การแก้ไข DRPs เป็นการแก้ไขผ่านผู้สั่งใช้ยา ร้อยละ 36.4 และได้รับการยอมรับจากบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ป่วย และผู้ดูแล 23 ครั้ง ร้อยละ 95.8 DRPs ส่วนใหญ่ได้รับการแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ 15 ครั้ง ร้อยละ 62.5
สรุปผล: DRPs ในผู้ป่วยรับการดูแลแบบประคับประคองที่มีการใช้กัญชาทางการแพทย์ที่บ้านมีสัดส่วนที่สูง การจัดการปัญหาด้านยาโดยเภสัชกรปฐมภูมิในการเยี่ยมบ้านได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี และสามารถแก้ไขปัญหาด้านยาได้มาก
References
Ministry of Public Health. Health Administration Division. Drug system management in palliative care. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2018.
Palliative care network region 8 Udon Thani. Palliative care guideline in Udon Thani hospital. Udon thani: Udon Thani Hospital; 2019.
Hussainy SY, Box M, Scholes S. Piloting the role of a pharmacist in a community palliative care multidisciplinary team: an Australian experience. BMC Palliat Care. 2011;10:16. doi: 10.1186/1472-684X-10-16.
Ministry of Public Health. Department of Medical Services. Guidance on cannabis for medical use. 3rd ed. Nonthaburi: Department of Medical Services, Ministry of Public Health; 2020.
Udon Thani Hospital. Report of home visits by multidisciplinary team in patients with continuity of care 2019 Oct 12-15. Udon Thani, Thailand: Continuity of care, COC Center, Udon Thani Hospital; 2019.
Pharmaceutical Care Network Europe Foundation. PCNE classification for drug related problems V 8.02 [Internet]. n.p.: Pharmaceutical Care Network Europe Foundation; 2017. [cited 2020 Jun 3]. Available from: https://www.pcne.org/upload/files/230_PCNE_classification_V8-02.pdf
พิจักษณา มณีพันธุ์, กรกมล รุกขพันธ์. ปัญหาด้านยาของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และการจัดการปัญหาโดยเภสัชกร. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ย. 2564];10(2):551-62. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/171230
ธิดา นิงสานนท์, ปรีชา มนทกานติกุล, อุษณีย์ วนรรฆมณี, ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์, จตุพร ทองอิ่ม. ตำราเภสัชกรครอบครัว. กรุงเทพฯ: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย); 2557.
Hartwig SC, Denger SD, Schneider PJ. Severity-indexed, incident report-based medication error-reporting program. Am J Health Syst Pharm. 1991;48(12):2611–6. doi: 10.1093/ajhp/48.12.2611.
Tunpichart S, Sakulbumrungsil R, Somrongthong R, Hongsamoot D. Chronic care model for diabetics by pharmacist home health in Bangkok Metropolitan: a community based study. Int J Med Med Sci. 2012;4(4):90-6. doi: 10.5897/ijmms12.009.
สมทรง ราชนิยม, กฤษณี สระมุณี. การจัดการปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านโดยเภสัชกรครอบครัวในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกระนวน. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 20 ก.ย. 2564];8(1):169-81. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/169718
Abunahlah N, Elawaisi A, Velibeyoglu FM, Sancar M. Drug related problems identified by clinical pharmacist at the internal medicine ward in Turkey. Int J Clin Pharm. 2018;40(2):360–7. doi: 10.1007/s11096-017-0585-5.
MacDonald E, Farrah K. Medical cannabis use in palliative care: review of clinical effectiveness and guidelines – an update [Internet]. Ottawa (ON): Canadian Agency for Drugs and Technologies in Health; 2019 [cited 2021 Sep 20]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK551867/
Nielsen TRH, Andersen SE, Rasmussen M, Honoré PH. Clinical pharmacist service in the acute ward. Int J Clin Pharm. 2013;35(6):1137–51. doi: 10.1007/s11096-013-9837-1.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความภายในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาลทั้งหมด รวมถึงรูปภาพประกอบ ตาราง เป็นลิขสิทธิ์ของสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) การนำเนื้อหา ข้อความหรือข้อคิดเห็น รูปภาพ ตาราง ของบทความไปจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ต้องได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการวารสาร (สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)) อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) อนุญาตให้สามารถนำไฟล์บทความไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ต่อได้ โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน (Creative Commons License: CC) โดย ต้องแสดงที่มาจากวารสาร – ไม่ใช้เพื่อการค้า – ห้ามแก้ไขดัดแปลง, Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) และบุคลากรในสมาคมฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเอง ตลอดจนความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความเป็นของผู้เขียน ไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการ