ประสิทธิผลของระบบบริหารสินค้าคงคลังในการบริหารคลังเวชภัณฑ์โรงพยาบาล

ผู้แต่ง

  • เกศรา ยศประสิทธิ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง
  • จาตุรันต์ เสียงดี กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง

คำสำคัญ:

ระบบบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้ขาย, การบริหารสินค้าคงคลัง, ประสิทธิผล

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: โรงพยาบาลมะเร็งลำปางมีปัญหาจำนวนเดือนสำรองคลัง มูลค่ายาหมดอายุและจำนวนรายการยาขาดจ่ายสูง สะท้อนถึงการบริหารเวชภัณฑ์ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร การปรับปรุงระบบบริหารสินค้าคงคลังจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเวชภัณฑ์ ส่งผลให้การใช้งบประมาณด้านยาของโรงพยาบาลเกิดความคุ้มค่าและมีประโยชน์สูงสุด

วัตถุประสงค์: 1) เพื่อศึกษาระบบการบริหารเวชภัณฑ์โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง 2) เพื่อพัฒนาระบบบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้ขาย (vendor managed inventory; VMI) ในการบริหารคลังเวชภัณฑ์ภายในโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของระบบ VMI ในการบริหารคลังเวชภัณฑ์ภายในโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง

วิธีวิจัย: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3 ระยะ คือ 1) การศึกษาระบบบริหารเวชภัณฑ์โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง 2) การวางระบบ VMI ในคลังย่อยนำร่อง (partial VMI) โดยคลังใหญ่เติมยาให้คลังย่อยเมื่อระดับยาคงคลังต่ำกว่าที่กำหนด และ 3) การนำระบบ VMI ไปใช้ (full VMI) ประเมินประสิทธิผลระบบ VMI จากจำนวนเดือนสำรองคลังยา จำนวนรายการยาขาดจ่าย และมูลค่ายาหมดอายุ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการนำระบบ VMI มาใช้

ผลการวิจัย: การใช้ระบบ VMI สามารถลดจำนวนเดือนสำรองคลังยาจาก 2.51 เดือน เป็น 1.54 เดือน มูลค่ายาหมดอายุลดลงจาก 304,467.62 บาท เป็น 129,676.25 บาท ในส่วนของจำนวนรายการยาขาดจ่ายพบว่าช่วง full VMI มีรายการยาขาดจ่ายลดลงจากช่วง partial VMI เหลือ 10 รายการ จาก 18 รายการ

สรุปผล: การใช้ระบบ VMI โดยการเติมยาจากคลังใหญ่ให้คลังย่อย สามารถลดจำนวนเดือนสำรองคลังยา และลดมูลค่ายาหมดอายุ แต่ไม่สามารถเปรียบเทียบจำนวนรายการยาขาดจ่ายก่อนและหลัง VMI ได้ เนื่องจากระบบที่ต่างกันทำให้มีการเก็บตัวชี้วัดที่ต่างกัน

Author Biographies

เกศรา ยศประสิทธิ์, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง

ภ.บ., ภ.ม. (เทคโนโลยีเภสัชกรรม)

จาตุรันต์ เสียงดี, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง

ภ.บ.

References

กระทรวงสาธารณสุข. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการบริหารจัดการด้านยาและเวชภัณฑ์มิใช่ยาของส่วนราชการและหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2563 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563 [สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://dmsic.moph.go.th /index/dataservice/91/0 (เอกสารลำดับ 1)

คณะกรรมการจัดทำรายงานระบบยาของประเทศไทย 2563 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. ระบบยาของประเทศไทย 2563. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2564.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563 [สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/09/plan_moph64.pdf

ศิโรวัลลิ์ ยินดี. การประยุกต์แนวความคิดการบริหารสินค้าคงคลังระบบ VMI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าโรงงานตัวอย่าง [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2557.

ณิชากร พีระพันธุ์. การพัฒนาระบบการบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้จัดจำหน่ายบนหน้าเว็บแอพพลิเคชั่น ประเภทสินค้า Non-Food กรณีศึกษา: บริษัท เซ็ลทรัลเรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม; 2560.

พรชนก เมฆไพบูลย์. ประสิทธิผลของระบบบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้ขายในการบริหารคลังเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2564.

รมิดา จิตมณี. การพัฒนาระบบบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ สถาบันราชประชาสมาสัย. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 10 ก.ค. 2566];7(2):24-38. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/iudcJ/article/view/258023

ชะอรสิน สุขศรีวงศ์, นิติ โอศิริสกุล, อารยา ศรีไพโรจน์, กุสาวดี เมลืองนนท์. ผลประโยชน์ด้านการเงินที่เกิดกับโรงพยาบาลจากการใช้ Vendor Management Inventory ของฝ่ายเภสัชกรรมโรงพยาบาล. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [สืบค้นเมื่อ 10 ก.ค. 2566];11(1):160-70. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/171360

วรวุฒิ สิงหา, สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล. การพัฒนาระบบการเบิกจ่ายเวชภัณฑ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจากโรงพยาบาลกมลาไสย โดยประยุกต์ใช้การบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้ขาย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [สืบค้นเมื่อ 5 ธ.ค. 2566];13(1):670-82. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/255032

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). บัญชีตัวชี้วัดเปรียบเทียบ ระบบสารสนเทศเปรียบเทียบวัดระดับคุณภาพโรงพยาบาล. THIP Benchmark KPI Dictionary 2023 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน); 2565 [สืบค้นเมื่อ 7 ธ.ค. 2565]. สืบค้นจาก: https://data.ha.or.th/dataset/01_0302-thailand-hospital-indicator-program-thip-update

สถาพร โอภาสานนท์. VMI: vendor managed inventory (ตอนจบ). วารสารบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2555 [สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2566];35(134):5-11. สืบค้นจาก: http://www.jba.tbs.tu.ac.th/files/Jba134/Column/JBA134SathapornC.pdf

สิริอร เศรษฐมานิต. การใช้แบบจำลองเพื่อศึกษาผลกระทบของ vendor managed inventory (VMI) ที่มีต่อสมาชิกในโซ่อุปทาน (การประชุมเชิงวิชาการประจำปีด้านการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ครั้งที่ 8) [อินเทอร์เน็ต]. สมุทรปราการ: สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย; 2551 [สืบค้นเมื่อ 10 ต.ค. 2566]. สืบค้นจาก: https://www.thailog.org/wp-content/uploads/2019/01/9-3.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

1.
ยศประสิทธิ์ เ, เสียงดี จ. ประสิทธิผลของระบบบริหารสินค้าคงคลังในการบริหารคลังเวชภัณฑ์โรงพยาบาล. Thai J Hosp Pharm [อินเทอร์เน็ต]. 31 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 7 เมษายน 2025];34(3):273-84. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/268599