การย้ายงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย

Authors

  • อรุณรัตน์ คันธา
  • เดช เกตุฉ่ำ
  • กฤษดา แสวงดี
  • ตวงทิพย์ ธีระวิทย์

Keywords:

การย้ายงาน พยาบาลวิชาชีพ

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาการย้ายงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย เปรียบเทียบการย้ายงานของพยาบาลวิชาชีพจำแนกตามกลุ่มอายุ และรูปแบบการย้ายงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย

การออกแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ(Secondary data) จากโครงการวิจัย “สุขภาพและชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย”

การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่งหรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่งระหว่างพ.ศ. 2545-2552 จากสภาการพยาบาล มีอายุระหว่าง 20-65 ปี จำนวน 18,763 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ความแปรปรวน(ANOVA)

ผลการวิจัย: ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา(ปีพ.ศ. 2543-2552) พยาบาลวิชาชีพเคยมีการย้ายงานร้อยละ 41.00 เฉลี่ยเท่ากับ 1.69 ครั้งต่อคน นอกจากนี้ยังพบว่าการย้ายงานของพยาบาลวิชาชีพในแต่ละช่วงอายุมีความแตกต่างกัน (p<.001) โดยพบว่าพยาบาลวิชาชีพที่มีอายุ 30-34 ปี มีการย้ายงานมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอายุอื่น สำหรับรูปแบบการย้ายงานของพยาบาลวิชาชีพนั้น พบว่าพยาบาลวิชาชีพมีการย้ายงานภายในวิชาชีพถึงร้อยละ 86.29 มีลาศึกษาต่อร้อยละ 3.36 และไม่ประกอบวิชาชีพพยาบาลร้อยละ 2.60 อีกทั้งพยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่มีการย้ายงานอยู่ภายในภาครัฐถึงร้อยละ 86.80 มีการย้ายงานจากภาครัฐไปภาคเอกชน ร้อยละ 4.11 และมีการย้ายงานอยู่ภายในภูมิลำเนาร้อยละ 49.11 มากกว่าการย้ายงานอยู่ภายนอกภูมิลำเนาที่มีร้อยละ 30.12 และพบว่ามีการย้ายงานจากนอกภูมิลำเนาเข้าสู่ในภูมิลำเนาร้อยละ 13.20

ข้อเสนอแนะ: ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารในการดำเนินงาน วางแผน บริหารจัดการกำลังคนให้มีความเหมาะสมและลดปัญหาการขาดแคลนพยาบาลต่อไป

How to Cite

1.
คันธา อ, เกตุฉ่ำ เ, แสวงดี ก, ธีระวิทย์ ต. การย้ายงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2014 Jan. 23 [cited 2024 Apr. 19];28(3):19-31. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/15741