มะเร็งเต้านมระยะลุกลามที่ได้รับยาเคมีบำบัด
Keywords:
โปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุน ความหวัง ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม เคมีบำบัดAbstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัย: ศึกษาผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนต่อความหวังในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามที่ได้รับเคมีบำบัด ที่มารับบริการ ณ หน่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง
การออกแบบวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 50 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 25 ราย ซึ่งได้รับการดูแลตามปกติ และ 25 ราย เป็นกลุ่มทดลอง ซึ่งได้รับโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกเกี่ยวกับโรค อาการและการรักษาที่ได้รับและแบบประเมินความหวัง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทีคู่ และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม
ผลการวิจัย: ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความหวังในวันที่ 21 สูงกว่าวันที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -17.49, p<.001) และมีคะแนนเฉลี่ยความหวังในวันที่ 21 สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [F (1, 48) = 151.81, p < .001]
ข้อเสนอแนะ: โปรแกรมการพยาบาลแบบสนับสนุนช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามที่ได้รับยาเคมีบำบัดมีความหวังเพิ่มขึ้น จึงควรมีการนำไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมความหวังของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามที่ได้รับเคมีบำบัดต่อไป