ประสิทธิผลของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในการให้บริการผู้ป่วยวิกฤต: กรณีศึกษา

Authors

  • ฉวีวรรณ ธงชัย
  • สมจิต หนุเจริญกุล

Keywords:

ผลลัพธ์ ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง ผู้ป่วยวิกฤต

Abstract

วัตถุประสงค์ของการวิจัย: ศึกษาผลลัพธ์ของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในการให้บริการผู้ป่วยวิกฤต

การออกแบบวิจัย: การวิจัยเชิงผลลัพธ์โดยอิงกรอบแนวคิดของโดนาบีเดียน(Donabedian)และเป็นการศึกษาย้อนหลัง

การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง 1 คน 2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 28 คน สถานที่ศึกษาคือโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคเหนือของประเทศไทย การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ อัตราตาย อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน ระยะเวลาเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต จำนวนวันใช้เครื่องช่วยหายใจ ระยะเวลาในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ อัตราการกลับเข้ารักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต จากบันทึกผลลัพธ์ของหน่วยงาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพได้แก่ โครงสร้าง กระบวนการจัดการดูแลของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง และประโยชน์ของการมีผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในองค์กรใช้การสัมภาษณ์รายบุคคลและรายกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยาย ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย: ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงแสดงออกถึงบทบาทที่โดดเด่นในการเป็นผู้นำโครงการพัฒนาคุณภาพการดูแลในผู้ป่วยวิกฤตโดยการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ จากการประเมินผลลัพธ์พบว่า ระยะเวลาเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต จำนวนวันใช้เครื่องช่วยหายใจ ระยะเวลาหย่าเครื่องช่วยหายใจ การเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจและแผลกดทับลดลงอย่างต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาสนับสนุนว่า ผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการดูแลในหอผู้ป่วยวิกฤต  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจึงควรให้ความสนใจในการจัดการศึกษาสำหรับผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงอย่างเป็นระบบ และจัดหาตำแหน่งสำหรับผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในระบบบริการสุขภาพ

 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
ธงชัย ฉ, หนุเจริญกุล ส. ประสิทธิผลของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในการให้บริการผู้ป่วยวิกฤต: กรณีศึกษา. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2014 Jan. 23 [cited 2024 Dec. 23];28(3):80-91. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/15750