ผลของการใช้เสื้อป้องกันการสูญเสียความร้อนต่ออุณหภูมิกายในทารกแรกเกิดปกติ
Keywords:
เสื้อป้องกันการสูญเสียความร้อน ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ ทารกแรกเกิดปกติ thermal insulated jacket, hypothermia, normal newbornAbstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาผลของการใช้เสื้อป้องกันการสูญเสียความร้อนต่ออุณหภูมิกายของทารกแรกเกิดปกติในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังเกิด
การออกแบบวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design)
วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือทารกแรกเกิดปกติที่คลอดครบกำหนด มีน้ำหนักแรกเกิด ระหว่าง 2,500-4,000 กรัม คะแนนชีพ (APGAR score) นาที ที่ 1 มากกว่า 7 และ นาทีที่ 5 เท่ากับ 10 อุณหภูมิกาย(Body temperature) ระหว่าง 36.5 - 37.5 องศาเซลเซียส อัตราการเต้นของหัวใจ(Heart rate) 100-160 ครั้งต่อนาที อัตราการหายใจ (Respiratory rate) 40 – 60 ครั้งต่อนาที ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหลังเกิดหรือ ความพิการแต่กำเนิด จำนวน 41 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เสื้อป้องกันการสูญเสียความร้อนซึ่งประดิษฐ์โดยผู้วิจัย เครื่องวัดอุณหภูมิกายทารก นาฬิกาจับเวลา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกอุณหภูมิกายทารกแรกเกิด ก่อนการทดลองและเมื่อสิ้นสุดการทดลองกลุ่มตัวอย่างได้รับการวัดอุณหภูมิกายทางทวารหนัก(Rectal temperature) ในระหว่างการทดลอง กลุ่มตัวอย่างได้รับการวัดอุณหภูมิกายทางรักแร้ (Axillary temperature) ทุก 15 นาที การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test
ผลการวิจัย: พบว่า ภายหลังการสวมใส่เสื้อป้องกันการสูญเสียความร้อน อุณหภูมิกายของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าระดับอ้างอิงภาวะอุณหภูมิกายปกติที่ 36.5 องศาเซลเซียสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และอุณหภูมิกายของทารกภายหลังการทดลองอยู่ในระดับปกติสูงกว่าอุณหภูมิกายของทารกก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)
ข้อเสนอแนะ: พยาบาลในห้องคลอดควรใช้เสื้อป้องกันการสูญเสียความร้อนที่พัฒนาขึ้นเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิกายต่ำและควบคุมอุณหภูมิกายให้กับทารกแรกเกิดปกติครบกำหนด ในระยะ 2 ชั่วโมงแรกหลังเกิด