การจัดการภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยเนื้องอกของต่อมใต้สมองที่ได้รับการผ่าตัด: การทบทวนวรรณกรรม
Keywords:
เนื้องอกของต่อมใต้สมอง การผ่าตัดผ่านโพรงอากาศสะฟีนอยด์ ภาวะแทรกซ้อน การจัดการ การทบทวนวรรณกรรมPituitary tumor, Transsphenoidal surgery, Complications, Management, Review literaturesAbstract
วัตถุประสงค์: เพื่อทบทวนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเนื้องอกต่อมใต้สมองที่ได้รับการผ่าตัดในระยะวิกฤติ
วิธีการ: การทบทวนวรรณกรรม
ขั้นตอนดำเนินการ: สืบค้นวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เอกสารอ้างอิง และสืบค้นด้วยมือ ใช้เอกสารทางวิชาการทุกประเภทที่ตีพิมพ์ระหว่างเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 ถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 2013 ได้หลักฐานที่เกี่ยวข้อง 50 ฉบับ ประกอบด้วยหลักฐานระดับ A จำนวน 2 ฉบับ ระดับ C จำนวน 25 ฉบับ ระดับ D จำนวน 10 ฉบับ และระดับ E จำนวน 13 ฉบับ สกัดสาระจากหลักฐานที่ได้
ผลการศึกษา: สรุปประเด็นการจัดการภาวะแทรกซ้อนตามลำดับดังนี้ 1) การประเมินปัจจัยเสี่ยง(Risk factors)ต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล วิธีการผ่าตัด ชนิดและขนาดของเนื้องอก และระดับเกลือแร่ในเลือด 2) การประเมินภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ได้แก่ การเกิดเลือดออกซ้ำ การรั่วของน้ำหล่อสมองและไขสันหลัง เลือดกำเดาไหลเบาจืด โซเดียมต่ำ pituitary apoplexy, หลอดเลือดสมองหดเกร็ง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ(Meningitis) และความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนต่อมใต้สมอง 3) การป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด โดยให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องแก่ผู้ป่วย ดูแลให้ได้รับยา เพื่อลดการเกิดภาวะเบาจืด และดูแลให้ได้รับให้ยาปฏิชีวนะป้องกันการเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ 4) การรักษาภาวะแทรกซ้อนควรทำอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันผลกระทบต่อระบบประสาทสมองรุนแรง และ 5) การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัดในระยะวิกฤต ควรเริ่มจากการประเมิน เฝ้าระวัง ป้องกัน และประสานความร่วมมือ ให้ผู้ป่วยได้รับการจัดการภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที
ข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาสามารถนำไปพัฒนาเป็นแบบประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนและแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยเนื้องอกของต่อมใต้สมองที่ได้รับการทำผ่าตัด