ผลของโปรแกรมควบคุมความชื้นของผิวหนังต่อความสมบูรณ์แข็งแรงของผิวหนัง และการเกิดแผลกดทับ ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทั

Authors

  • สายฝน ไทยประดิษฐ์
  • วิภา แซ่เซี้ย
  • เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์

Keywords:

ความชื้นของผิวหนัง ค่าความเป็นกรดด่างของผิวหนัง ผื่นแดง แผลกดทับ และผู้สูงอายุ Skin hydration, Skin pH, Skin redness, Pressure ulcer, Elderly

Abstract

บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์การวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมควบคุมความชื้นของผิวหนังต่อความสมบูรณ์แข็งแรงของผิวหนังและอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ

การออกแบบวิจัย: แบบกึ่งทดลองชนิดวัดผลก่อนหลังแบบมีกลุ่มควบคุม

การดำเนินการวิจัย: คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงโดยเป็นผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อ

การเกิดแผลกดทับจำนวน 60 ราย ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมทางเดินหายใจโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคใต้ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและควบคุม จำนวนเท่าๆกัน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการควบคุมความชื้นของผิวหนังร่วมกับการดูแลปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลปกติเท่านั้น  ความสมบูรณ์แข็งแรงของผิวหนังประเมินจากค่าความเป็นกรดด่างและความชื้นของผิวหนังบริเวณก้นกบ เครื่องมือดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับของบราเดน 2) โปรแกรมการควบคุมความชื้นของผิวหนัง 3) เครื่องมือสำหรับวัดค่าความเป็นกรดด่างและความชื้นของผิวหนัง 4) แบบประเมินผื่นแดง และ 5) แบบประเมินระดับการเกิดแผลกดทับซึ่งใช้  ใช้.=hตามเกณฑ์การแบ่งระดับการเกิดแผลกดทับขององค์กรที่ปรึกษาเรื่องแผลกดทับ วิเคราะห์ค่าความแตกต่างของความเป็นกรดด่างและความชื้นของผิวหนังระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยสถิติทีอิสระ ส่วนอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับและผื่นแดงของผิวหนังวิเคราะห์ด้วยสถิติไควสแควร์

ผลการวิจัย: พบว่า ค่าเฉลี่ยความเป็นกรดด่าง ความชื้นของผิวหนังก้นกบ ความถี่ของการเกิดผื่นแดง และอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับบริเวณก้นกบหลังการทดลองของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001)

ข้อเสนอแนะ: พยาบาลสามารถนำโปรแกรมการควบคุมความชื้นที่พัฒนาในการศึกษาครั้งนี้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับเครื่องช่วยหายใจและมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับได้

Abstract: Objective:To study the impact that a skin humidity control programme could have on skin integrity and pressure ulcers in elderly patients with pressure ulcer risks. Design:Quasi-experimental research with a pre-test and post-test on the control. Implementation:The subjects, purposively sampled, were 60 elderly patients with pressure ulcer risks, who were treated in the respiratory disorder ward of a tertiary hospital in Southern Thailand. The research instruments were (1) Braden’s (1987) pressure ulcer risk measuring scale; (2) a skin humidity control programme; and (3) a skin integrity assessment device, which consisted of (i) a skin pH measuring device for coccyx humidity; and (ii) rash and pressure ulcer formation assessment device. Independent T-test was used to analyse differences in skin pH levels and skin humidity levels between the experimental group and the control group, whilst Chi-square Statistics were used to analyse rash and pressure ulcer for-mation. Results:The experimental group displayed a significantly lower (p < .001) post-experimental degree of coccyx humidity, skin pH level, rash frequency and pressure ulcer formation than the control. Recommendations:This programme could be applied to caring processes for elderly patients with pressure ulcer risks.

 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
ไทยประดิษฐ์ ส, แซ่เซี้ย ว, ฐานิวัฒนานนท์ เ. ผลของโปรแกรมควบคุมความชื้นของผิวหนังต่อความสมบูรณ์แข็งแรงของผิวหนัง และการเกิดแผลกดทับ ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทั. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2014 Mar. 31 [cited 2024 Nov. 22];29(1):43-54. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/18617