ดนตรีบำบัดต่อความเจ็บปวดจากการเจาะไขกระดูกในเด็กวัยเรียน
Keywords:
การเบี่ยงเบนความสนใจ/ ดนตรี/ ความเจ็บปวด/ การเจาะไขกระดูก/ เด็กวัยเรียน Distraction/ Music/ Pain/ Bone Marrow Aspiration/ School-Age ChildrenAbstract
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความเจ็บปวดจากการเจาะไขกระดูกของผู้ป่วยเด็กวัยเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับดนตรีบำบัดกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ
การออกแบบวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลองโดยศึกษาแบบสองกลุ่มวัดหลังการทดลอง
การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนอายุระหว่าง 7-12 ปี ที่มารับบริการเจาะไขกระดูก เพื่อการตรวจวินิจฉัยหรือติดตามผลการรักษา มีคุณสมบัติตามที่กำหนดที่มารับบริการ ณ หอผู้ป่วยเด็กโต โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา และห้องทำหัตถการทางโลหิตวิทยา แผนกผู้ป่วยนอก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี จำนวน 60 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 30 ราย และกลุ่มทดลอง 30 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติ กลุ่มทดลองได้รับดนตรีบำบัด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบประเมินความเจ็บปวดในเด็กด้วยใบหน้าแบบเส้นตรงประยุกต์ Modified Visual Analogue Scale (MVAS) การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติทดสอบที ( Independent t-test)
ผลการวิจัย: พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความเจ็บปวดจากการเจาะไขกระดูกของเด็กวัยเรียน
ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 6.028, p < .001)
ข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรส่งเสริมการนำดนตรีมาเป็นทางเลือกหนึ่งในการเบี่ยงเบนความสนใจ เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดในผู้ป่วยเด็กวัยเรียนที่ได้รับการเจาะไขกระดูก
Abstract: Objective:To compare levels of pain perception in music-therapy-treated and non-music-therapy-treated school age children having received bone marrow aspiration.Design:Two-group quasi-experimental research with a pre-test and a post-test. Implementation:The sample subjects consisted of 60 school age children aged between 7 and 12 who met research criteria. The subjects had received diagnostic or prognostic bone marrow aspiration at the adolescent ward of Maharaj Nakhonrachasima Hospital and were required to undergo a haematological procedure at the out-patient department of Queen Sirikit National Institute of Child Health. The subjects were equally divided into a control group and an experimental group, the former given normal nursing care and the latter given music therapy in addition to normal nursing care. The instruments used consisted of a general information recording form and a Modified Visual Analogue Scale (MVAS) pain-assessment form. The data were analysed using and independent T-test. Results:The members of the experimental group showed a significantly lower average level of bone marrow aspiration pain (t = 6.028, p < .001) than did the subjects in the control group. Recommendations:It is suggested that nurses employ music therapy as a means of distraction, in order to reduce perception of pain in school age children having received bone marrow aspiration.