ผลของดนตรีร่วมกับการสร้างจินตภาพต่อความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด ในระยะที่ 1 ของการคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก
Keywords:
ดนตรี/ จินตภาพ/ ความเจ็บปวดในระยะคลอด/ พฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวด MUSIC/ IMAGERY/ LABOR PAIN/ PAIN COPING BEHAVIORAbstract
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาผลของดนตรีร่วมกับการสร้างจินตภาพต่อความเจ็บปวดและพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะที่ 1 ของการคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก
การออกแบบวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research)
การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์แรกที่มาฝากครรภ์และคลอดบุตรที่ รพ.ราชวิถี จำนวน 64 ราย โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์คุณสมบัติ แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 32 ราย กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามปกติและการฟังดนตรีร่วมกับการสร้างจินตภาพในระยะที่ 1 ของการคลอด ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติเพียงอย่างเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ แบบประเมินระดับความเจ็บปวดชนิดเส้นตรง และแบบประเมินพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย เปรียบเทียบข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์สถิติฟิชเชอร์สถิติทดสอบค่าทีและสถิติแมนน์วิทนีย์ ยู เทสต์
ผลการวิจัย: กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความเจ็บปวดระยะปากมดลูกเปิดเร็ว และระยะปากมดลูกเปลี่ยนผ่านน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 4.80, p<0.001 และ Z = -5.369, p<0.001ตามลำดับ) และมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดระยะปากมดลูกเปิดเร็วและระยะปากมดลูกเปลี่ยนผ่านสูงกว่ากลุ่มควบคุม (t = -7.98, p<0.01 และ Z = -4.239, p<0.001 ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ข้อเสนอแนะ: การฟังดนตรีร่วมกับการสร้างจินตภาพในระยะที่หนึ่งของการคลอด เป็นวิธีที่สามารถลดความเจ็บปวด ช่วยให้ผู้คลอดมีพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดที่ดี นอกจากนี้ยังเป็นวิธีที่ปลอดภัยและผู้คลอดสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง
Abstract: Objective: To examine the impact of music on primigravidae’s mental images of pain and pain-coping behaviour during the first stage of labour.Design:Quasi-experimental research. Implementation:The subjects, purposively sampled, consisted of 64 primigravidae who attended antenatal care and gave birth at Rajwithi Hospital. The subjects were equally divided into the experimental and control groups. During the first stage of labour, those in the experimental group were given music sessions in addition to normal nursing care, whilst those in the control group received only normal nursing care. The research instruments consisted of a linear pain assessment form and a labour-pain-coping behaviour assessment form. The data were analysed using descriptive statistics, whilst statistical comparison was made based on a Chi-square test, Fisher’s exact test, independent t-test, and Mann-Whitney U test. Results: The experimental group showed significantly lower average degrees of active phase pain and transitional phase pain than did the control group (t = 4.80, p < 0.001 and Z = -5.369, p < 0.001, respectively). In addition, the experimental group’s average active phase and transitional phase pain-coping behaviour scores were significantly higher than those of the control group (t = -7.98, p < 0.01 and Z = -4.239, p < 0.001, respectively). Recommendations:Listening to music as part of mental image creation during the first stage of labour can help reduce primigravidae’s labour pain and enable them to cope better with it. Moreover, this method is safe and can be conveniently self-administered.