ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ความรู้สึกเป็นภาระในการดูแล กับอาการซึมเศร้าในปู่ย่าตายายที่ดูแลหลาน
Keywords:
อาการซึมเศร้า ปู่ย่าตายายที่ดูแลหลาน ความรู้สึกเป็นภาระในการดูแล depressive symptoms, grandparents caring for grandchildren, caregiving burdenAbstract
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์การวิจัย:เพื่อศึกษาอาการซึมเศร้า และความสัมพันธ์ระหว่างอายุ ความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลกับอาการซึมเศร้า ของปู่ย่าตายาย ที่ดูแลหลาน
การออกแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย
วิธีการดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นปู่ย่าตายาย ที่เป็นผู้ดูแลหลัก ในการดูแลหลานอายุระหว่าง 0-5 ปีในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 100 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือน เมษายน – มิถุนายนพ.ศ.2555 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการตอบสนองของผู้ดูแล และแบบทดสอบภาวะซึมเศร้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างมีอาการซึมเศร้า ร้อยละ 33 อายุ มีความสัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าของปู่ย่าตายายที่ดูแลหลานอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .041, p =.685) ความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลด้านความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางลบกับอาการซึมเศร้าในปู่ย่าตายายที่ดูแลหลานในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.237, p<.05) ส่วนความรู้สึกเป็นภาระในการดูแลด้านการขาดการสนับสนุนจากครอบครัว ด้านผลกระทบต่อการเงินด้านผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน และด้านผลกระทบต่อสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการซึมเศร้าในปู่ย่าตายายที่ดูแลหลานในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .459, p< .001; r = .427, p< .001; r = .299, p< .01 และ r = .352, p< .001 ตามลำดับ)
ข้อเสนอแนะ : ควรคัดกรองอาการซึมเศร้าในปู่ย่าตายายที่เป็นผู้ดูแลหลักในการดูแลหลานอายุระหว่าง 0 -5 ปีและพัฒนาโปรแกรมเพิ่มการสนับสนุนช่วยเหลือจากครอบครัว ชุมชน หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
Abstract: Objectives: To investigate depressive symptoms and relationship between age and caregiving burden and depressive symptoms of grandparents caring for grandchildren.
Design: Descriptive correlation research.
Implementation: Subjects were 100 grandparents who were primary caregivers caring for their very young grandchildren in the age range of 0 – 5 years old in Petchaburi Province. Data were collected using the Center for Epidemiologic Studies Depression Scale (CES-D) and the Caregiver Reaction Assessment (CRA).
Results: The results showed that one-third (33 %) of the participants had depressive symptoms. There was no significant relationship between age and depressive symptoms of grandparents caring for grandchildren (r = .041, p = .685). There was a small, significant negative relationship between caregiving burden, in terms of self-esteem, and depressive symptoms (r = -.237, p < .05). There were significantly positive relationships between caregiving burden in terms of lacking family support, financial impact, impact on schedule, and health impact, and depressive symptoms (r = .459, p < .001; r = .427, p<.001; r = .299, p<.01; r = .352, p<.001,respectively).
Recommendations: There should be a screening for depressive symptoms in grandparents who are the primary caregivers of grandchildren age 0 – 5 years old. A program should also be developed to promote support from their families, communities, and relevant agencies.