กระบวนการสร้างสมดุลในชีวิตโดยการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในภาคใต้

Authors

  • ขวัญตา บาลทิพย์
  • อุษณีย์ เพชรรัชตะชาติ
  • ศิริวรรณ พิริยคุณธร

Keywords:

ความสมดุลในชีวิต ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผู้ติดเชื้อเอชไอวี balance in life, sufficiency economy philosophy, HIV patients

Abstract

บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่ออธิบายกระบวนการสร้างสมดุลในชีวิตโดยการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในภาคใต้

การออกแบบวิจัย: การวิจัยเชิงรากฐาน

การดำเนินการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการบันทึกภาคสนาม เป็นระยะเวลา 8 เดือน ระหว่างเดือนพฤษภาคม- ธันวาคม 2554 จากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 47 ราย ที่มีคุณสมบัติ ดังนี้ คือ รับรู้ว่าตนเองติดเชื้อเอชไอวีมานานกว่า 3 ปี มีประสบการณ์ของการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต  มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขี้นไป มีซีดี4 มากกว่า 499 เซลล์ต่อหนึ่งคิวบิคมิลลิเมตร สามารถสื่อสารด้วยภาษาไทยได้ และยินดีที่จะให้ข้อมูล การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลใช้ 2 วิธี คือ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด (purposive sampling) และคัดเลือกจากข้อค้นพบที่ได้รับ (theoretical sampling) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงรากฐานของ

สเตราท์และคอร์บิน

ผลการวิจัย: ผลการวิจัยสามารถสรุปกระบวนการของการสร้างสมดุลในชีวิตโดยการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในภาคใต้ ได้ 3 ประเด็นหลัก  คือ 1) กลยุทธ์ที่นำไปสู่การสร้างสมดุล ประกอบด้วย 2 ประเด็น คือ ปรับวิถีชีวิตใหม่ให้อยู่ได้กับโรค และดำเนินชีวิตบนเส้นทางที่สร้างสุข 2) ปัจจัยส่งเสริมกระบวนการสร้างความสมดุล ประกอบด้วย 5 ประเด็น คือ รับรู้ว่าชีวิตมีคุณค่า มีความหมายและมีเป้าหมาย  มองชีวิตคนรอบข้างที่ลำบากกว่า เข้าใจตนเองและยอมรับความเจ็บป่วย เชื่อมั่นและศรัทธาในผลของกรรม และเข้าใจและยอมรับความจริงของชีวิต และ 3) ผลที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสร้างความสมดุล คือ มีความสุข มีความพึงพอใจ และมีความสมดุลในชีวิต

ข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาครั้งนี้ให้แนวทางแก่ทีมสุขภาพ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีแบบองค์รวมที่นำไปสู่การสร้างสมดุลในชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี

Abstract: Objective:To explain Southern Thai HIV patients’ adoption of sufficiency economy philosophy as part of the process of restoring balance in life. Design:Grounded theory methodology. Implementation:In this study, data were collected by means of in-depth interviews, non-participatory observation and field recording. Data collection period continued for 8 months, from May to December 2011. In total, the data were obtained from 47 informants, each with these qualifications: (i) being aware that s/he had been HIV-infected for 3 years or more; (ii) having applied sufficiency economy philosophy to his/her way of life; (iii) being at least 18 years old; (iv) having more than 499 CD4 cells per cubic millimetre; (v) being able to communicate in Thai; and (vi) being willing to provide information. Two methods were used in informant selection: (i) purposive sampling; and (ii) theoretical sampling. The data were analysed qualitatively based on Strauss & Corbin’s Grounded Theory. Results:The study led to the following significant findings concerning Southern Thai HIV patients’ adoption of sufficiency economy philosophy as part of the process of restoring balance in life. Firstly, two balance-restoring strategies were identified: (1) adjustment of lifestyle to cope with the disease; and (2) adhering to a path of happiness. Secondly, five factors were identified as contributing to balance restoration: (1) awareness of life’s value, meaning and goals; (2) observation of people with greater difficulty; (3) self-awareness and acceptance of one’s illness; (4) confidence and faith in consequences of actions; and (5) understanding and accepting truths about life. Thirdly, major positive outcomes of balance restoration included happiness, satisfaction and balance in life. Recommendations:The results of this studies may serve as guidelines for healthcare teams and other parties involved in providing holistic care for HIV patients, in an attempt to restore balance in their lives.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
บาลทิพย์ ข, เพชรรัชตะชาติ อ, พิริยคุณธร ศ. กระบวนการสร้างสมดุลในชีวิตโดยการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในภาคใต้. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2014 Mar. 31 [cited 2024 Dec. 23];29(1):29-42. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/18628