ปัจจัยทำนายการฟื้นตัวในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง

Authors

  • สราวุฒิ สีถาน
  • เกศรินทร์ อุทริยะประสิทธิ์
  • ทิพา ต่อสกุลแก้ว
  • ธวัชชัย อัครวิพุธ

Keywords:

คำสำคัญ, การฟื้นตัว การผ่าตัดช่องท้อง ภาวะโภชนาการ ภาวะโรคร่วม ความวิตกกังวล Keywords, recovery, abdominal surgery, nutrition status, anxiety, co-morbidity

Abstract

บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของภาวะโภชนาการ ความวิตกกังวล     และภาวะโรคร่วม ต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง

การออกแบบวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยาย

การดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง จำนวน 85 ราย จากโรงพยาบาล     ตติยภูมิและทุติยภูมิ ในจังหวัดสระบุรีและลพบุรี ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม พ.ศ. 2556 โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการปรับตัวของรอย เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล การเจ็บป่วย และการรักษา แบบประเมินภาวะโภชนาการ แบบสอบถามความวิตกกังวล แบบประเมินภาวะโรคร่วม   และแบบประเมินการฟื้นตัวหลังผ่าตัดช่องท้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติถดถอยเชิงพหุ

ผลการวิจัย: พบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีอายุเฉลี่ย 45.8 ปี (SD = 10.5) มีภาวะขาดสารอาหารระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง (mean = 15.7, SD = 13.5) ความวิตกกังวลระดับสูง (mean = 67.2, SD = 4.5) และมีภาวะ     โรคร่วม 1 ถึง 2โรค (mean = 1.1, SD = 1.6) ภาวะโรคร่วม ภาวะโภชนาการ และความวิตกกังวล                  มีความสัมพันธ์ทางลบกับการฟื้นตัวหลังผ่าตัดช่องท้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.799; p < .01,              r = -.798; p <.01, r = -.321; p <.01, ตามลำดับ) และสามารถร่วมกันทำนายการฟื้นตัวหลังผ่าตัดช่องท้องได้ร้อยละ 74.60 (R2 = .746; p < .05)

ข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรประเมินและให้การดูแลปัจจัยเหล่านี้ทั้งในระยะก่อนและหลังผ่าตัด เพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวที่ดีหลังผ่าตัด

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
สีถาน ส, อุทริยะประสิทธิ์ เ, ต่อสกุลแก้ว ท, อัครวิพุธ ธ. ปัจจัยทำนายการฟื้นตัวในผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2014 Aug. 21 [cited 2024 Dec. 23];29(2):21-35. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/21114