การประเมินความแม่นยำในการวัดระดับน้ำตาลในเลือดของเครื่องวิเคราะห์น้ำตาลในเลือดชนิดต่างๆ ในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม
Keywords:
คำสำคัญ, เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด เฮมาโตคริต ความแม่นยำ ผู้ป่วยวิกฤตทางอายุรกรรม Keywords, point-of-care testing, POCT, glucometer, hematocritAbstract
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เปรียบเทียบผลการวัดค่าน้ำตาลในเลือดด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ระดับน้ำตาล ณ จุดดูแลผู้ป่วย 4 ชนิดกับเครื่องมือวิเคราะห์จากห้องตรวจปฏิบัติกลาง และเปรียบเทียบผลระดับน้ำตาลในเลือดจากการตรวจเปรียบเทียบดังกล่าวในผู้ป่วยที่มีเฮมาโตคริตต่ำ และผู้ป่วยที่ได้รับยาเพิ่มความดันโลหิต
การออกแบบการวิจัย การวิจัยกึ่งทดลอง
วิธีดำเนินการวิจัย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 196 ราย วัดค่าน้ำตาลในเลือดด้วยเครื่องมือวิเคราะห์ ณ จุดดูแลผู้ป่วย 4 ชนิดกับเครื่องมือวิเคราะห์จากห้องตรวจปฏิบัติกลาง และวัดค่าเฮมาโตคริต เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกเกี่ยวกับโรค การรักษา ยาที่ได้รับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติทีคู่ สถิติวิเคราะห์ความถดถอยและแบลนอัลต์แมน
ผลการวิจัย:เครื่องมือวิเคราะห์น้ำตาลในเลือด 2 ชนิดที่มีค่าระดับน้ำตาลใกล้เคียงกับค่าที่ตรวจโดยห้องปฏิบัติการกลาง ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยวิกฤตที่มีเฮมาโตคริตต่ำ และผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับยาเพิ่มความดันโลหิต มีเพียง 1 เครื่องมือวิเคราะห์ที่มีค่าน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงกันกับที่ตรวจโดยห้องปฏิบัติการกลาง ส่วนอีก 3 เครื่องให้ผลแตกต่างจากการตรวจโดยห้องปฏิบัติการกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.5)
ข้อเสนอแนะ: การเลือกเครื่องมือวิเคราะห์ระดับน้ำตาล ณ จุดดูแลผู้ป่วย มีความสำคัญอย่างมากทางคลินิกเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และรวดเร็ว ผู้ป่วยวิกฤตที่มีค่าเฮมาโตคริตที่ระดับสูง หรือต่ำ มีผลทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการตรวจวัดค่าระดับน้ำตาลในเลือดได้