ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ของผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อม

Authors

  • นรินทร์รัตน์ เพชรรัตน์
  • จิราพร เกศพิชญวัฒนา

Keywords:

คำสำคัญ การจัดการตนเอง, การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน, คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ, ผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อม Keyword, Self- management, ADL, HRQoL, Older person with osteoarthritis

Abstract

บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อม

การออกแบบวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง

การดำเนินการวิจัย:  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมจำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน จับคู่ในด้าน อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย ระดับความรุนแรงของโรค และความปวดโดยที่  กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเป็นกิจกรรมกลุ่มจำนวน  6  ครั้ง และกิจกรรมรายบุคคล  จำนวน 3  ครั้ง     รวม 9 ครั้งในระยะเวลา 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมตามปกติของผู้สูงอายุ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน Chula-ADL และแบบประเมิน SF-36 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Nonparametric test และสถิติ t-test

ผลการวิจัย: พบว่าการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อม ภายหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.05) และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อม   ภายหลังการทดลองกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับกิจกรรมตามปกติของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<.05)

ข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงโปรแกรมการจัดการตนเองทำให้ผู้สูงอายุมีทักษะในการจัดการ

กับปัญหาสุขภาพ เกิดผลลัพธ์ทางสุขภาพที่ดี สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

How to Cite

1.
เพชรรัตน์ น, เกศพิชญวัฒนา จ. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ของผู้สูงอายุโรคข้อเสื่อม. J Thai Nurse midwife Counc [Internet]. 2014 Aug. 21 [cited 2024 Nov. 22];29(2):127-40. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/21126